การศึกษาสถานภาพทางภาษาของภาษามอญที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (A Study Of Linguistic Status Of Mon Language At Nonglu Sub District Sangklaburi District Kanchanaburi)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่องการศึกษาสถานภาพทางภาษาของภาษามอญที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคลังความรู้ทางภาษา (Linguistic repertoire) ของกลุ่มชาติพันธุ์มอญและเพื่อสำรวจทัศนคติของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ ที่มีต่อภาษามอญและภาษาไทย โดยศึกษาเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์มอญที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 300 คน แบงออกเปน 3 ชวงอายุ คือกลุมที่มีชวงอายุ 15-25 ป ชวงอายุ 35-45 ป และชวงอายุ 55-65 ป
ผลการศึกษาด้านคลังความรู้ทางภาษา พบกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ช่วงอายุ สามารถพูดได้ 3 ภาษา คือ ภาษามอญ ภาษาไทย และภาษากะเหรี่ยง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเป็นภาษาส่วนใหญ่ที่ชาวตำบลหนองลูใช้ในการติดต่อสื่อสาร และมีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นชาวมอญในตำบลหนองลูจึงยอมรับที่จะเรียนรู้ภาษากะเหรี่ยงซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเป็นจำนวนมาก ส่วนภาษาไทยนั้นมีบทบาทเป็นภาษาประจำชาติและปรากฏตามสื่อต่าง ๆ
ผลการศึกษาด้านทัศนคติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวมอญทุกกลุมอายุสวนใหญมีทัศนคติตอภาษาและ
กลุมชาติพันธุของตนเองในเชิงบวก ซึ่งผลจากการที่มีทัศนคติทางภาษาที่ดีดังกลาวนี้จะชวยใหชาวมอญเกิดความภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมของตนเองโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีการอนุรักษ์ภาษาผ่านพิธีกรรม และการศึกษาภาษามอญในช่วงปิดเทอมของเด็ก ๆ ที่วัดวังก์วิเวการาม ทำให้ชุมชนมอญยังคงรักษาภาษาไว้ได้อย่างเข้มแข็งท่ามกลางวงล้อมของภาษาไทยและกะเหรี่ยง
The objective of the research on the study of the language status of Mon language at Nong Lu sub district, Sangklaburi district, Kanchanaburi was to study the linguistic repertoire of Mon ethnic groups and to explore the attitudes of Mon ethnic groups toward Thai and Mon language, by studying on 300 people of only Mon ethnic groups at Nonglu sub district, Sangklaburi district in Kanchanaburi. By divided into 3 age groups; age group of 15-25 years old, 35-45 years old, and 55-65 years old.
The results of the study of language knowledge, found that the 3 groups, are able to speak 3 languages; which are Mon, Thai and Karen. This may be because they are the languages that Nong Lu people use to communicate the most and due to having marriage across ethnic groups. Therefore, Mon people in Nong Lu sub district accept to learn Karen language, which is the language used in many ethnic groups, and Thai language plays a national language and appears in various media.
The results of the study on the matter in attitude showed that most Mon sample groups of all age groups had attitudes towards their language and ethnic groups in a positive way. The result of this positive attitude towards language helps Mon people being proud of their language and culture, especially teenagers. There are language conservation through rituals, and provide Mon language class during school holidays at Wat Wang Wiwekaram, which make the Mon community can still maintain strong language amidst the circle of Thai and Karen languages.