แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางศูนย์ความรู้กินได้ (A Guideline for Development Learning Resources on Operational Approach of Knowledge Box set)

Main Article Content

กัมปนาท บริบูรณ์ (Gumpanat Boriboon)
สถิดาพร คำสด (Sathidaporn Khomsod)
สุวิมล อุไกรษา (Suwimon Ukraisa)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้เข้ากับบริบทของหน่วยงานและพื้นที่ที่ตั้งแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางศูนย์ความรู้กินได้ เป็นงานวิจัยที่มีรูปแบบการวิจัย 2 รูปแบบคือ การศึกษาโดยการทบทวนข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการศึกษาข้อมูลจากภาคสนามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะการดำเนินงาน ซึ่งศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ของแหล่งเรียนรู้ 4 พื้นที่ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรสาคร สำหรับกลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน  และกลุ่มที่ 2 คือ ประชาชนทั่วไป สำหรับการเลือกใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ที่สะดวกให้ข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่ศึกษา และเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากประชาชนทั่วไปในพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และแบบสำรวจพฤติกรรมและความต้องการใช้ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นองค์ประกอบของแหล่งการเรียนรู้เพื่อจัดทำแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางศูนย์ความรู้กินได้ ตามความเหมาะสมและความต้องการในบริบทของแต่ละพื้นที่


               ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการบริหารจัดการโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญต่อครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้  1) วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 2) ลักษณะกิจกรรมในแหล่งการเรียนรู้ 3) กระบวนการดำเนินการของแหล่งการเรียนรู้ 4) กลุ่มเป้าหมายของแหล่งการเรียนรู้ 5) เครือข่ายการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้6) การจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้


 


                 The purpose of this study was studying the guidelines for development learning resources on operational approach of knowledge box set that appropriateness to implementation. This study consisted of two procedures. Firstly, studying from documentary about the conditions, problems and needs of learning resources. Secondly, studying from four area of learning resources include Chiang Mai province; Nan province; Chachoengsao province and SamutSakhon province. A questionnaire was also used to collect opinions from forty adult learners in learning resources. The samples were obtained through purposive sampling and volunteer sampling. The research findings were as follows:


               A guideline for development learning resources on operational approach of knowledge box set consisted six major components, as follows First, objective in using learning resources; Second, Activities for promoting learning resources; Third, operational approach of learning resources; Fourth, The target group of learning resources; Fifth, Network of learning resources and Sixth, Allocated of facilitative physical resources for learning resources.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts