ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานกวาดถนนในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร (Health Status And Health Behaviors Among Street Sweepers In Khannayao District, Bangkok Metropolitan)

Main Article Content

สุรัตนา ทศนุต (Surattana Tossanoot)
มัณฑนา เหมชะญาติ (Monthana Hemchayat)
พรรณภา เรืองกิจ (Phannapa Ruangkig)
รุ่งนภา โพธิ์แสน (Rungnapa Posaen)

Abstract

                พนักงานกวาดถนน เป็นผู้ประกอบอาชีพที่การทำงานมีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ลักษณะงานและช่วงเวลาของการปฏิบัติงานยังเป็นอุปสรรค ต่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองของบุคคลกลุ่มนี้อีกด้วย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานกวาดถนน ในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานกวาดถนน ที่ปฏิบัติงานใน เขตคันนายาว จำนวน 93 คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัด เครื่องวัดความดันโลหิต และแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถามความเครียดของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


               ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 95.7 และมีอายุเฉลี่ย 45.16 ปี จากการประเมินภาวะสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในภาวะอ้วน โดยมีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนคิดเป็นร้อยละ 61.3  จำแนกเป็นอ้วนระดับ 1 (BMI=25.00-29.99) ร้อยละ 40.9 และอ้วนระดับ 2 (BMI มากกว่า 30.00) ร้อยละ 20.4 กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 22.6 มีดัชนีมวลกายปกติ (BMI=18.50-22.99) สำหรับภาวะอ้วนลงพุง พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.1 มีภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอว≥90ซม.ในผู้ชายและ≥80 ซม.ในผู้หญิง) นอกจากนั้น ยังพบภาวะความดันโลหิตสูง โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14.0 มีความดันซิสโตลิคสูง (≥140 มม.ปรอท) และร้อยละ 11.8  มีความดันไดแอสโตลิคสูง (≥90 มม.ปรอท)  สำหรับสุขภาวะทางจิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 2.2  มีภาวะเครียดในระดับเครียดมาก ร้อยละ 38.7 มีเครียดในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย และร้อยละ 49.5 มีระดับเครียดปกติ


               ส่วนพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานกวาดถนน พบว่า มีการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ได้แก่ ด้านการบริโภค กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.0 รับประทานอาหารที่มีน้ำมัน ทอด ผัด และร้อยละ 43.0 ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานบ่อยและเป็นประจำ ด้านการออกกำลังกาย พบว่า ร้อยละ 77.4 ขาดความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย และ ร้อยละ 16.1 ออกกำลังกายบางครั้ง สำหรับการจัดการความเครียด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.6 ปรึกษาเพื่อนหรือญาติ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพนักงานกวาดถนนในการศึกษาครั้งนี้ร้อยละ 36.6 ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรมบ่อยครั้ง


               ผลการศึกษาครั้งนี้บ่งชี้ว่า พนักงานกวาดถนนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพทางกายคือมีภาวะอ้วนซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิค นอกจากนั้นบุคคลกลุ่มนี้บางส่วนยังมีความเครียดในระดับเกินกว่าปกติ และยังมีพฤติกรรมสุขภาพที่จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยด้วย  ดังนั้น กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประชาชนในกลุ่มนี้


 


                Street sweepers are at risk of occupational health hazards and then work achedules deter them from proper self-care. This survey study aimed to assess health status and health behaviors of street sweepers in Khannayoa, Bangkok. The sample included 93 conveniently selected street sweepers working in Khannayoa. Data were collected in April 2015 using physical measurement instrument and questionnaire. The physical instrument included weighing scale , measuring tape, and sphygmomanometer, The questionnaire, developed by the researcher, consisted of personal information, health behaviors, and stress measurement (GHQ-28) developed by the Department of Mental Health. Data were analyzed by using descriptive statistics.


               It was found that the majority of the samples were female (95.7%) with the average age of 45.16 years. Results of health assessment showed that most of them (61.3%) had body mass index (BMI) above normal level, 40.9% of whom were classified as first degree obesity (BMI between 25.00-29.55), 20.4% were second degree obesity (BMI > 30.00), and only 22.6% of them had normal level of BMI (18.5-22.99). As for metabolic syndrome, it was found that 72.1% of the samples were of risk of metabolic syndrome (waist circumference ≥ 90 cm. in men and ≥ 80 cm. in women) In addition, 14.0% of the sample had high systolic BP (≥140 mmHg.) and 11.8% had high diastolic BP (≥90mmHg.). Mental Health assessment revealed that 2.2% of the samples were under severe stress, 38.7% were under stress slightly higher than normal, and 49.5% were at normal level.


               It was from that street sweepers had unhealthy behaviors that adversely affected health these included eating oily food (57.0%), consuming carbonate drinks, sweeten frequently and regularly (43%) ,77.4% did not have leisure exercise, and 16.1% did exercise sometimes. For stress management, the majority (64.6%) sought advice from friends or relative, and some of these people had high level of stress and unhealthy health behaviors that could lead to illnesses. Therefor, health promotion to programs prevent illnesses are urgently needed for their group.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

สุรัตนา ทศนุต (Surattana Tossanoot), วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

อาจารย์พยาบาลสาขาวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ