สัตว์หิมพานต์ในจินตนาการ : อิทธิพลจากคติความเชื่อกับภาพลายเส้นของ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ (Himmapan Creatures from Imagination: Influences from beliefs and drawings of Surasak Charoenwong)

Main Article Content

สุดวดี สุวรรณ (Sudwadee Suwan)
สุชาติ เถาทอง (Suchart Taothong)

Abstract

                 บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนเสียชีวิตของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ นั่นคือ ผลงานชุด “ภาพสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการ” ท่านนำเสนอรูปแบบสัตว์หิมพานต์ที่มีเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยการผสมสัตว์แต่ละประเภทที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในศิลปกรรมใด จากการศึกษาทบทวนศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไปพบว่าภาพสัตว์หิมพานต์ที่ปรากฏส่วนใหญ่ยังเป็นการเขียนภาพสัตว์ซึ่งมีที่มาจากศิลปกรรมโบราณเป็นหลัก และยังไม่พบเชิงเปรียบเทียบทางสัญลักษณ์เพื่อสื่อแสดงความรู้สึกเฉพาะตนสะท้อนสัมพันธภาพแห่งครอบครัวในลักษณะเดียวกันกับที่พบในผลงานของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลจากรูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในศิลปกรรมโบราณที่มีต่อการสร้างสรรค์ของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบประเภทสัตว์หิมพานต์จากสมุดไทยดำสมัยรัชกาลที่ 3 และจิตรกรรมในกรอบกระจกพระวิหารวัดสุทัศน์ กับ ผลงานชุดภาพสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์


               จากการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบภาพสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ กับภาพสัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำ และ สัตว์หิมพานต์ในกรอบกระจก พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม ปรากฏความหลากหลายจากบริบทที่แตกต่างกันทั้ง 3  ชุด กล่าวคือ


               ชุดที่ 1 ตำราภาพสัตว์หิมพานต์จากสมุดไทยดำทั้ง 77 ประเภท ปรากฏบุษบกหลังเล็กๆตั้งอยู่บนหลังสัตว์ทุกตัว รวมถึงการจัดท่าทางของสัตว์ให้ยืนนิ่งในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เหมาะแก่การนำไปใช้ในการผูกหุ่นรูปสัตว์เข้ากระบวนแห่พระบรมศพในงานพระเมรุ แม้จะมีความวิจิตรงดงามแต่ยังขาดชีวิตชีวา


               ชุดที่ 2 คือภาพสัตว์หิมพานต์ในกรอบกระจกประดับเหนือขอบประตูหน้าต่างวิหารวัดสุทัศน์ จำนวน 48 ประเภท มีความงามอย่างอุดมคติแสดงลักษณะสัตว์นานาชนิดในจินตนาการ เป็นธรรมชาติมีชีวิตชีวาขึ้นจากชุดสัตว์ในสมุดไทยดำ แต่สัมพันธภาพระหว่างสัตว์ด้วยกันยังปรากฏไม่ชัดเจนนัก โดยสัตว์หิมพานต์ชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารที่มีเนื้อหาซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ และคติความเชื่อทางพุทธศาสนาในสมัยนั้นไว้อย่างชัดเจน


               ชุดที่ 3 คือ ภาพสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการของศาสตราจารย์สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ จำนวน 151 ประเภท แม้จะรับอิทธิพลจากรูปแบบของสัตว์หิมพานต์ใน 2 ชุดแรกมาอย่างเต็มเปี่ยม แต่กลับแสดงสุนทรียภาพแห่งความสัมพันธ์เชิงครอบครัวของสัตว์หิมพานต์ในลักษณะที่ไม่พบในศิลปกรรม 2 ชุดแรก  ภาพครอบครัวของสัตว์พ่อแม่ลูกหยอกล้อแสดงความรักสะท้อนความอบอุ่นในฐานะของความเป็นพ่อในตัวท่าน แสดงความรู้สึกเฉพาะตนในมิติความสัมพันธ์แห่งครอบครัวลงไปตามจินตนาการของท่าน  นำเสนอรูปแบบสัตว์หิมพานต์ที่มีการออกแบบผสมสัตว์แต่ละประเภทในรูปลักษณะใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน 


 


                This article aims to study and analyze the last workpiece of Professor Surasak Charoenwong before his passed which is named “Himmapan Creatures from Imagination”. It is the collection book illustrating the various kind of Himmapan creature drawing, including new created characters which never existed before. Consideration to the related art studies, the Himmapan creatures typically seen mainly came from the ancient art with no artists’ expression. Unlike the work of Professor Suraksak, the expression of his feeling to family relation through symbolic and comparison found through his art.


               Therefore, the objective of this essay is to study the influences of Himmapan creatures in the ancient art toward the creativity of Professor Surasak by analyzing, including comparing types of Himmapan creatures shown in “Thai Dum” book from the reign of King Rama III and the painting decorated in the Vihara of Wat Suthat compared with “Himmapan Creatures from Imaginations” by Professor Surasak Charoenwong. They are diversity in different contexts found in all the 3 above-mentioned resources as per below.


               Set 1 - 77 kinds of Himmapan creatures in “Thai Dum” book. They are found to have small throne on all of their backs. They all were also drawn in the same standing posture used as ornament attached to royal funeral processions. They are elaborate, yet to be lifeless.  


               Set 2 - The Himmapan creatures painting which decorated inside the Vihara, above doors and windows of Wat Suthat, in total of 48 kinds. They are ideally beautiful showing various kind of creatures from imagination. They look more alive comparing to the creatures from “Thai Dum” book, however, the relationship between creatures are not obviously shown. The paintings intended to relate with the mural painting in the Vihara which clearly present visions and beliefs in Bhuddism at that period.


               Set 3 - The Himmapan creatures from imagination, totally 151 kinds, created by Professor Surasak Charoenwong. Even his creatures were influenced greatly from the above 2 sets, the aesthetic of family relationship was found which never seen in the above works. For example, the scene of creature family that parents are playing with their children reflecting his warm loving heart as a father. His work expressed his feeling toward the family relation including the imagination to create the new Himmapan creatures that never existed.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts