การศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง (Study of active learning activities for Mathayom Suksa 1 students, Mae Tha District, Lampang Province ) Study of active learning activities for Mathayom Suksa 1 students, Mae Tha District, Lampang Province

Main Article Content

ธัญลักษณ์ มณีวรรณ (Thunyaluk Maneewan)
แพรวพรรณ สุคำ (Parewpan Sukam)
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน (Duangjan Kaewkongpan)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการอออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์จากกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 3) ศึกษากระบวนการทำงานกลุ่ม 4) ศึกษาเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนจำนวน 15 คน ชาย 11 คน หญิง 4 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม และแบบวัดเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า


                1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้มีเทคนิคที่แตกต่างกัน ได้แก่ เทคนิคจิ๊กซอว์ เทคนิคเกม เทคนิค KWL และเทคนิคกิจกรรมเป็นฐาน ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการทำกิจกรรม ทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันภายใน 2) ผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 3) ผลของกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ และ 4) เจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.53 อยู่ในระดับมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมาก


 


                The objectives of this research were to: 1) study the results of the design of active learning for Mathayom Suksa 1 students, 2) study the science learning achievement from active learning activities, 3) study the process of group work , and 4) study of good attitudes towards science. Sample ware 15 Mattayom Suksas 1 students; 11 male and 4 female in second semester, year 2018 at one school of Mae ta district, Lampang province. Research measurement were active learning study plan, test of science learning achievement, group work evaluation, and test of good attitude about science. Data analysis was analyse by descriptive statistic like mean and standard deviation. Result found that 1) active learning activities help to promote learning achievement and 21st century skills of Matthayom Suksa 1 including of 4 different lesson plans: jigsaw techniques, game techniques, KWL techniques and activity-based techniques that help to stimulate the interest of learners to doing activities and made the learner have more intention, 2) science learning achievement of students after organized by active learning had been improve significantly statistic at the level of .01, 3)  results of the student work after organized by 4 active learning activities plan were at the passing level, and 4) good attitude towards science showed the overall picture in the average was 4.76 and the standard deviation was 0.53. The level of attitude was very high.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts