“มนุษย์โซเชียลแฟนเพจ”: วิธีการที่เป็นมิตรและละเอียดอ่อนเพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน (“Manut Social Fanpage”: Designing Friendly and Youth Sensitive Approach to Raising Awareness for Decrease Online Violence among Thai Youths)

Main Article Content

ณัฐรัชต์ สาเมาะ (Nattharat Samoh)
พิมพวัลย์ บุญมงคล (Pimpawun Boonmongkon)
อุดมสิทธิ์ จีรสิทธิ์กุล (Udomsit Jeerasitkul)
โธมัส กวาดามูซ (Thomas Guadamuz)

Abstract

            ความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์กำลังเป็นปัญหาสำคัญในยุคสังคมดิจิทัล ซึ่งปัญหาดังกล่าวกำลังจะลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายวิธีการที่เป็นมิตรและละเอียดอ่อนในการสร้างเฟซบุ๊คแฟนเพจเพื่อเสริมศักยภาพและพลังอำนาจในการใช้สื่อออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากการสนทนากลุ่มเพื่อร่วมกันระดมสมองในการออกแบบเฟซบุ๊คแฟนเพจกับเยาวชนจำนวน 4 กลุ่ม และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อจำนวน 1 กลุ่ม และให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างเฟซบุ๊คแฟนเพจเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ในการสร้างเฟซบุ๊คแฟนเพจเพื่อสร้างความตระหนักในประเด็นความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ ควรมีการออกแบบโดยบูรณาการความเป็นสหสาขาวิชาทั้งศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมศาสตร์ และสุขภาพ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้แฟนเพจที่สร้างขึ้นมีความน่าสนใจ สอดคล้องกับวัฒนธรรมของวัยรุ่น และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ได้ ในการนำเสนอเนื้อหาในแฟนเพจได้นำเสนอข้อมูลที่มีรูปแบบหลากหลายประกอบด้วย การสร้างภาพการ์ตูนเพื่อเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ มีการใช้ภาพ ข้อมูลแผนภาพ ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ อีกทั้งได้มีการสร้างกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ติดตามได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับแฟนเพจ จากการใช้งานแฟนเพจทำให้เยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย เกิดความตระหนักที่จะลดการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ และสามารถตักเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนโลกออนไลน์ได้อีกด้วย


 


               Violence in online space has been observed as one of the key issues in the digital age. Such issue also spreads extensively in Thai society. This study describes friendly and sensitive approach to decrease online violence among Thai youths in a form of Facebook fanpage that was designed with creativity to equip youths with skills to safely use online media. The study was conducted on the basis of Participatory Action Research method through creating focus group discussions with 4 groups of youths and a group of media specialists in order to design a new Facebook fanpage, which will then allow youths to engage, develop and test this new Facebook fanpage together over a period of 3 months. According to the study results, it indicates that, in order to build youth awareness of online violence, it is important to apply multidisciplinary integration of information technology, social sciences, and health with Facebook fanpage to make online space interesting for youths. Such online space should publish contents that match with their culture and useful for them to apply to their routine life in helping prevent violence in online space. The contents used on the pilot Facebook fanpage were developed using different types of content from cartoon animation, visual image to infographic to story-telling and edutainment on various forms of online violence. Online activities were also created on a regular basis to induce youth’s interaction with the fanpage. This study shows that this fanpage exposed youth to a safe approach to their use of social media and assisted youth to prevent online violence. as well as being capable of warning other youths from using inappropriate behaviors on social media.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts