สมรรถนะระดับบุคคลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ในสังกัดศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (The Effect of Individual Competencies on Job Performance of Police officers in the Southern Border Provinces Police Operation Center.)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโมเดลเชิงสาเหตุสมรรถนะระดับบุคคลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 960 คน โดยเป็นข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจปริมาณงานสูง 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส จำนวน 32 กลุ่มงาน 480 คน และข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในสถานีตำรวจปริมาณงานรองลงมาใน 3 จังหวัดข้างต้นจำนวน 32 กลุ่มงาน 480 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ส่วนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามซึ่งเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติบรรยาย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม Mplus
ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุสมรรถนะระดับบุคคลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจฯ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่า χ² = 1805.413, df = 553, p = 0.000, χ²/df = 3.265 ดัชนี CFI = 0.921, TLI = 0.914, RMSEA = 0.049, SRMRW = 0.036 และ SRMRB = 0.420 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุสมรรถนะระดับบุคคลส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สมรรถนะหลัก และสมรรถนะของตำแหน่งงานในสถานีตำรวจ ทั้งนี้ชุดตัวแปรทำนายระดับบุคคลสามารถอธิบายความแปรปรวนผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจฯ ได้ร้อยละ 71.10
The purposes of the study to test the multilevel causal model of individual competencies affecting the performance of police in the Southern Border Provinces Police Operation Center. By multistage samplings, there are 64 working groups and 960 individuals collected as samples for analysis of organization or task classification in the police station. 32 groups and 480 individuals are police officers in the police stations with higher numbers of tasks in the three provinces: Yala, Pattanee, and Narathivas; another 32 groups and 480 individuals are police officers in the police stations with less smaller numbers of tasks in the aforementioned 3 provinces. The tools used are 5-level rating scale, Descriptive Statistics analysis, Pearson’s Correlation Analysis by SPPS Program, Confirmatory Factor Analysis, Multilevel Confirmatory Factor Analysis, and Multilevel Causal Analysis by Mplus program.
The results are: 1) the multilevel causal model of the police officers performance correlates with the empirical data as followed χ² = 1805.413, df = 553, p = 0.000, χ²/df = 3.265 CFI index = 0.921, TLI = 0.914, RMSEA = 0.049, RMSEA = 0.049, SRMRW = 0.036 และ SRMRB = 0.4202) The competencies or individual causal factors, statistically and significantly affecting to job performance of police officers, are cultural competency, core competency, and police officers position competency. Individual predictor variables can verify the variance of police officers performance at 71.10% respectively.