การนำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไปปฏิบัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี (The Implementation of Thailand 4.0 Policy by Local Administrative Organizations in Udon Thani Province)

Main Article Content

ฐิติพร ดอนโคตรจันทร์ (Titiporn Donkhotjan)
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (Grichawat Lowatcharin)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้และความเข้าใจ การนำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเสนอแนะแนวทางในการนำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไปปฏิบัติ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบกรณีศึกษาหลายกรณีแบบองค์รวม (holistic multiple case study) และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 23 คน ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการฝ่ายประจำ และเจ้าหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่งในเขตจังหวัดอุดรธานี 


               ผลการศึกษาพบว่า บุคลากร อปท. มีการรับรู้นโยบายประเทศไทย 4.0 เพียงว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่ไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าบุคลากรผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย  อปท. นำนโยบายประเทศไทย 4.0 ไปปฏิบัติ ใน 2 รูปแบบตามความเข้าใจของบุคลากร ได้แก่ 1) นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลาง และ 2) นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคิดค้นขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านการบริการ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการศึกษา และนวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน  ทั้งนี้ การนำนโยบายไปปฏิบัติยังเผชิญกับปัญหาก็คือ ด้านสมรรถนะองค์กร ด้านระเบียบและกฎหมาย ด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง และด้านการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ข้อเสนอแนะ ได้แก่ รัฐบาลควรมีการกำหนดวิธีการและแนวปฏิบัติของนโยบายให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และควรมีกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการบริหารและการคลัง ให้ อปท. มีอิสระอำนาจในการตัดสินใจการกำหนดและปรับแต่งนโยบาย


 


                   The current study aimed to examine local administrative organizations’ understanding and implementation of the Thailand 4.0 policy and to propose guidelines for implementation improvement.  The authors employed a holistic multiple case study design and collected data via interviews of 23 local officials of five local administrative organizations (LAOs) in Udon Thani province.


               Findings reveal that the LAOs have some basic understanding about Thailand 4.0 policy and perceive it as a policy that aims to promote economic growth through innovation and technology. They, however, lack insight on how the policy should be implemented at the local level, not having thorough information on the subject matter. The LAOs’ realization of Thailand 4.0 is categorized into two groups: 1) Thailand 4.0-related e-services imposed by the national government, and 2) Thailand 4.0-related innovations initiated at the local level. The latter includes innovations on public services, information technology, local education, and alternative energy. Problems hindering effective implementation include organizational capacity, laws and regulations, interorganizational network and dependency, and decentralized authority and resources.  The findings imply that the government should devise a clear and practical set of procedures for policy implementation and transfer administrative and fiscal authority to LAOs for better policy implementation and adaptation.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts