การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนไทยกรณีศึกษา: เยาวชนในจังหวัดเชียงราย (Media Literacy of Thai Youth Factors Analysis A Case study of Chiangrai Youth)

Main Article Content

วัชรี มนัสสนิท (Watcharee Manussanit)
จักรพันธ์ ชัยทัศน์ (Chakkaphan Chaithat)
พูลสุข หิงคานนท์ (Poonsuk Hingkanont)
กฤษณา อึดใจ (Kissana Audjai)

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนจังหวัดเชียงรายโดยมี กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 18 - 20 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายจำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามองค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนจังหวัดเชียงราย  และได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง0.80-1.00  มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 โดยผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ตอนที่ 1   ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับสื่อ 2) การรับสารอย่างมีวิจารณญาณ 3) การเลือกเปิดรับสาร 4) อิทธิพลจากผู้ปกครอง 5) ความตระหนักรู้ตนเองในขณะใช้สื่อ และ 6) การมีส่วนร่วมกับสังคมในการรับสาร ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบใหม่ ทั้ง 6 องค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนจังหวัดเชียงรายมีความตรงเชิงโครงสร้าง และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า  ค่า Chi-square = 2179.708, Degrees of Freedom = 1402, Chi-square/Degrees of Freedom = 1.554, Comparative Fit Index (CFI) = 0.975, Standardized Root Mean Square Residual(SRMR) = 0.029, Root Mean Square Error of Approximate (RMSEA) = 0.033 แสดงว่า องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชน จังหวัดเชียงรายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


 


               The objectives of this research were to study the factors of Chiangrai youth’s media literacy. The sample used in this research were 367 Muang of Chiangrai youth’s.  The instrument was a questionnaire and was evaluated the content validity by 5 experts.  Its validity and index item-objective congruence (IOC) was 0.80 - 1.00 and its reliability, Cronbach’s alpha was 0.98. The results of this study was separated into 2 parts. The first was an analyzed by exploratory factor analysis and found that four factor components are (1) Media Knowledge and Awareness (2) Critical Exposure (3) Media Exposure Selection (4) Parent Influence (5) Self Awareness and (6) Social Participation. The second was an analyzed by confirmatory factor analysis showed that the model of Chiangrai youth’s media literacy is of structural validity and consistency fitted the empirical data considering from its value as Chi-square = 2179.708, Degrees of Freedom = 1402, Chi-square/Degrees of Freedom = 1.554, Comparative Fit Index (CFI) = 0.975, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.029, Root Mean Square Error of Approximate (RMSEA) = 0.033.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts