รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาไทยที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในบริบทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย / THAI EFL LEARNERS’ LEARNING STYLE PREFERENCES IN THAI UNIVERSITY CONTEXTS

Main Article Content

Warittha Wana
Kornsiri Boonyaprakob

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการเรียนรู้และความคิดเห็นของนักศึกษาในเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ที่ชอบใช้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่รวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 177 คน ซึ่งศึกษาอยู่ในคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย 2 แห่งในประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามดัชนีชี้วัดรูปแบบการเรียนรู้ (Index of Learning Styles) ฉบับแปลเป็นภาษาไทยซึ่งผู้พัฒนาต้นฉบับคือ Felder และ Soloman (1991) และเขียนตอบคำถามเรื่องการรับรู้ การประมวล และการทำความเข้าใจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ILS (Litzinger, Lee, Wise, & Felder, 2007) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Strauss & Corbin, 1990)  ผลที่ได้จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการเรียนรู้แบบการมอง แบบประสาทสัมผัส แบบปฏิบัติ และแบบองค์รวม และยังพบอีกว่ารูปแบบที่ชอบนี้อยู่ในระดับสมดุลทั้ง 4 มิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีแนวโน้มในการปรับใช้รูปแบบการเรียนรู้จากรูปแบบที่ชอบไปใช้รูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่ารูปแบบการเรียนรู้ที่นักศึกษาชอบนั้นเอื้อต่อการเรียน การทำความเข้าใจ และการจดจำข้อมูลอีกด้วย

Abstract

This study assessed EFL learners’ learning style preferences.  Altogether 177 undergraduate students who were studying at the Faculty of Liberal Arts and the Faculty of Education from two Thai universities participated in the study.  With the quantitative method, the participants responded to a translated version of the Index of Learning Style (ILS) questionnaire.  This questionnaire was developed by Felder and Soloman (1991). In addition, they reflected on their learning by writing responses to four to additional open-ended questions.  Litzinger, Lee, Wise, and Felder’s (2007) ILS data analysis device and Strauss and Corbin’s (1990) content analysis were used to analyze the data.  The findings showed that the majority of the participants preferred visual, sensory, active, and global learning styles.  They were also found to be at the balanced level of preference for all learning style dimensions.  For the balanced level, these participants could be described as having a tendency to switch from preferred learning styles to the other in the same dimension in order to learn effectively in the classrooms.  Moreover, the results from the participants’ reflections showed that their preferred learning styles could facilitate and foster participants in their learning, understanding, and memorizing information.

Article Details

Section
บทความ : International
Author Biography

Kornsiri Boonyaprakob, Mahidol University

A lecturer at the Faculty of Liberal Arts, Mahidol University