ความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทยThe Sisters of Saint Paul of Chartres’s
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย 2) รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย และ 3) ผลการยืนยันรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย ประชากร คือ โรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย จำนวน 22 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย จำนวน 19 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้แทนชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย และในขั้นตอนของการยืนยันองค์ประกอบมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1.องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม 3) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ 4) การพัฒนาทักษะชีวิต 5) การดำเนินงานจิตตาภิบาล 6) การจัดการสิ่งแวดล้อม และ 7) การยึดหลักธรรมาภิบาล
2.รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทยเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาทักษะชีวิต การดำเนินงานจิตตาภิบาล การจัดการสิ่งแวดล้อม และการยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ
3.การยืนยันรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย
Abstract
The purposes of this research were to determine : 1) the components of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand, 2) the model of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand and 3) the confirmation model of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand. There were 3 steps of this research operation: 1) studying the variable concerning the social responsibility 2) developing instrument and data collection and 3) analyzing data and confirming The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand from statistical analyses. Samples and instruments used in the research include: 1) 10 specialists and related persons by semi-structured interviews; 2) in 19 schools under The Sisters of Saint Paul of Chartres in Thailand and the respondents were school directors, vice directors, head of departments, teachers and parent association, Alumni association, community representative by using questionnaires ; and 3) 5 educated experts by using opinionnaire. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and content analysis
The findings of this research were as follows:
1.The components of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand were1) The Quality Improvement of Learners 2) social service activities 3) The collaborative network development 4) The Life skills development 5)The pastoral 6) environmental education and 7) good governance.
2.The model of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand was a multivariate causal relationship model consisted of 7 principal components, namely The Quality Improvement of Learners, social service activities, The collaborative network, The pastoral, The environmental education and The good governance which affected The Life skills development in both direct and indirect effect significantly.
3.The confirmation model of The Sisters of Saint Paul of Chartres promoting social responsibility through education in Thailand was found propriety, feasibility, utility and accuracy accordance with the theories, and the research conceptual frameworks.