แนวทางการทำงานร่วมกันในการสร้างสรรค์งานศิลปะแนวนิวมีเดียอาร์ตจากเรื่องเล่าประวัติศาสตร์แม่เมาะในชุมชนตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (Guidelines for the Collaboration to the creation of new media art from the history of Mae Moh in the community of Mae Moh District, Lampang Province)

Main Article Content

สิริรัญญา ณ เชียงใหม่ (Sirirunya na Chiangmai)

Abstract

               สืบเนื่องจากการเริ่มต้นวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังทางประวัติศาสตร์แม่เมาะ ณ ตำบลแม่เมาะ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เกิดขึ้นมาจากการเริ่มต้นศึกษาประวัติศาสตร์แม่เมาะเพื่อสร้างผลงานระดับปริญญาเอกและต่อยอดมาจนถึงการได้รับทุนวิจัยจาก กฟผ.แม่เมาะ โดย นางสาวสิริรัญญา ณ เชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งในเวลานี้ยังคงมีงานด้านศิลปะของแม่เมาะเข้ามาอย่างต่อเนื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือการเรียนในวิชาใด นับได้ว่าเป็นการค้นพบพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เปิดกว้างและผู้คนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก


               ในปัจจุบันอิทธิพลความเชื่อและความงามทางศิลปะมีผลต่อความคิดของผู้คนไม่เว้นแม้กระทั่งในพื้นที่ที่กล่าวถึงนี้คือ บ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่ยังคงมีความเชื่อเคารพรักและศรัทธาต่อพุทธศาสนาและบรรพบุรุษของตนเอง เป็นความเชื่อที่ควบคู่กันไปแบบชาวล้านนาและกลุ่มชาติพันธ์ที่มาตั้งรกรากในพื้นที่แห่งนี้เช่น ชาวไทใหญ่ ชาวเงี้ยว ชาวพม่า ชาวจีนและชาวมอญเป็นต้น แต่เดิมนั้นในอดีตผลงานศิลปะในตำบลแม่เมาะส่วนใหญ่จะพบเห็นได้จากวัดตามโบสถ์หรือวิหารที่มีการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ภายใน ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวไทยที่มีมาแต่ช้านาน ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจึงเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และเป็นที่เผยแพร่ความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพุทธศาสนารวมถึงชาวแม่เมาะด้วย บางครั้งภาพวาดงานจิตรกรรมจะอยู่ในวัตถุที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในกรณีอื่นด้วยเช่น พระที่นั่ง ตู้พระคัมภีร์ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วจะอยู่ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานชั้นสูงมากกว่าที่จะนำมาตกแต่งบนอาคารบ้านเรือนหรือตกแต่งประดับสวนของคนทั่วไป ด้วยเรื่องราวงานจิตรกรรมไทยบนฝาผนังนั้นเป็นเรื่องของพุทธศาสนาจึงไม่ควรนำมาอยู่ร่วมกับสิ่งของใช้ทั่วไปอย่างเด็ดขาด ชาวแม่เมาะเองก็มีความเชื่อตามขนบดั้งเดิมนี้เช่นเดียวกัน


               เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปศิลปะตะวันตกสมัยใหม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดคนไทยโดยเฉพาะแนวคิดการสร้างผลงานศิลปะตามแบบฉบับประเพณีดั้งเดิมของไทยก็ได้ปรับเปลี่ยนสู่แนวคิดศิลปะแนวตะวันตก เช่น การวาดภาพแบบมีทัศนมิติหรือการใช้วัตถุธาตุสีที่มีลักษณะดูเข้มข้นคล้ายสีอคริลิคหรือสีน้ำมันมากกว่าจะใช้สีบางละมุนอ่อนโยน หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ก็ทำให้รูปแบบทางศิลปะมีการปรับเปลี่ยนนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ร่วมกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมากขึ้น


               ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลถึงบทบาทของศิลปะที่ใช้เทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในตำบลแม่เมาะนั้น ได้เคยถูกใช้ในลักษณะต่างๆมาบ้างแล้วเช่น การฉายภาพเคลื่อนไหวในสื่อการเรียนการสอน การใช้โปรแกรมพื้นฐานต่างๆเพื่อวาดภาพคอมพิวเตอร์ และในส่วนของวิจัยที่เคยถูกใช้ในลักษณะอื่นๆคือ การถ่ายทอดภาพประวัติศาสตร์แม่เมาะเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบเคลื่อนไหวเป็นต้น


               การคาดคะเนถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแนวนิวมีเดียอาร์ตจากประวัติศาสตร์แม่เมาะจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ทางศิลปะของชาวแม่เมาะโดยการนำเอากระบวนการใช้เทคโนโลยีทางศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในบทความฉบับนี้จึงไม่ใช่แค่การเล่าว่าประวัติศาสตร์แม่เมาะมีที่มาเป็นอย่างไรแต่เป็นการอธิบายแนวทางความเป็นไปได้ในอนาคตถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแนวมีเดียอาร์ตร่วมกันระหว่าง ศิลปิน กับ ผู้คนและองค์กร ภายใต้ข้อแม้การสร้างสรรค์ผลงานนิวมีเดียอาร์ตนั้นต้องมีการนำเอาข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์แม่เมาะต่างๆที่เคยศึกษามาเพื่อพัฒนาชุมชนในตำบลแม่เมาะด้านการใช้ศิลปะและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด


 


                According to start a history of the Mae Moh mural painting in Mae Moh sub district, Mae Moh district, Lampang Province. From the beginning study the history of Mae Moh to create the work of Doctorate degree and continued to receive research funded from EGAT. Mae Moh (Electricity Generating Authority of Thailand). Presently, there is a job art of Mea Moh irrelevant any research or any subject study. It’s an area of creativity the work of art to open widely and the people are paying attention a lot.


               Currently, the influences of belief and beauty of art have affected the mind of though the people not even when mentioned this area of the Moh Loung community of the Mae Moh sub district, Mae Moh district, Lampang Province, there is still belief to respect and faith in Buddhism and their own ancestor. It is a parallel belief of Lanna people and ethnic groups who settled in this area such as Shan or Tai Yai, Myanmar, Chinese and Mon etc. In the past, the most work of art in the Mae Moh sub district could see from the Ubosot temple inside, there are many mural paintings. Similarly, the belief of Thai Buddhist for a long time, mural painting is a place of learning resource and disseminate of Thai Buddhist to respect of Buddhism including Mae Moh people too. Sometime, another case the painting story of Buddhism would be painted on another materials such as Throne Hall, cabinet Thai scriptural etc. All of the painting story of Buddhism must be painted on a higher work than to decorate on a house or decorate the garden, because the Thai traditional mural painting is a full story of Buddhism. It should not be combined with common things, and people of Mae Moh also belief in Thai traditional as well.


               Time has changed, the western art is influenced though of Thai people, especially the concept of creating works of art Thai traditional changed to the concept, though western art such as the painted style of perspective or using the element of colors to strong colors looks like acrylic colors or oil colors than using soft colors or the new technology get into people life, it does change the art style to bring new technologies using with the work of art.


               From the study role of art which using technology to combine with creating the work of art in the Mae Moh sub district. Has been used in different ways, such as projecting animation in structural media, using basic programs to computer drawing, and in the part of research has been used to projecting animation the story of mural painting of the history of Mae Moh and so on.


               Prediction to the process creation of new media art from the history of Mae Moh would be on the basis of artistic experiences Mae Moh peoples by using the process technology work of art. So that the things appear in this journal not only narrates the history of Mae Moh, but also explained possibility ways in the future to the ability of creating new media art collaborate between with artist, peoples and organization under condition the creation of new media art must be brought information evidences of the history of Mae Moh to develop art and technology in the community of Mae Moh to high usefulness achievable.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts