การวิจัยประเมินผลโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่ สำหรับพยาบาล/RESEARCH EVALUATION OF TRAINING PROGRAM ADVANCED CARDIOVASCULAR LIFE SUPPORT IN ADULT FOR NURSE
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทคัดย่อภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาผลประเมินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่ สำหรับพยาบาลในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ภายหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่ สำหรับพยาบาลไปแล้ว 3 – 6 เดือน 3) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลกับผลการเรียนรู้ในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง จำนวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 95.5 มีอายุน้อยกว่า 30 ปี จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 46.6 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 71.6 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 89.2 และส่วนใหญ่สังกัดภายนอกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 50 ปี จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 33.6 และ มีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่ สำหรับพยาบาลในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน พบว่าระดับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 3) การวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับผลการเรียนรู้ในการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ที่มีลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่าการนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านประเมินผลผู้เข้ารับการอบรมในการจัดเตรียมและเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยชีวิตได้เหมาะสมกับผู้ป่วย พบว่า อายุ สถานภาพการสมรส ประเภทหอผู้ป่วย/หน่วยงาน ระยะเวลาการทำงาน และประสบการณ์การร่วมทีมช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาปัจจัยตัวอื่นๆ ที่มีผลต่อการประเมินผลของการนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และควรประเมินผลในรูปแบบอื่น เช่น ในทางการปฏิบัติมีการทดสอบวัดความรู้แบบก่อนและหลังการฝึกอบรม เป็นต้น
คำสำคัญ : ประเมินผลโครงการฝึกอบรม
Abstract
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ The objectives of this research are 1) To study the evaluation of training program advanced cardiovascular life support in adult for nurse. In the knowledge gained from the training to apply in practice. 2) To study the Problems in the knowledge gained from the training to use in practice. After the training advanced cardiovascular life support in adult for nurse. For nurses to 3-6 months. 3) To compare the Personal characteristics on learning outcomes in knowledge gained from the training to apply in practice. Sample of 268 people using proportional sampling (Quota Sampling) tool used to gather data was the questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, frequency distribution, percentage, mean, standard deviation test, t-test and analysis of variance.
The results show the following : 1) To the personal characteristics of the respondents. Found that the majority were female, 256 persons or 95.5 percent were younger than 30 years with 125 persons or 46.6 percent majority were single number 192, representing 71.6 percent of the students in the undergraduate number 239. persons or 89.2 percent, and most belong to the external faculty of 154 persons or 57.5 percent for the period of operation less than 50 years were 90 people, representing 33.6 percent and experienced team to rescue the patient. 1-2 times / year 93 persons or 34.7 percent 2) The evaluation of training program advanced cardiovascular life support in adult for nurse in the knowledge gained from the training to apply in practice. Found that knowledge into practice in the performance as a whole. The level With an average of 4.08 3) A comparative analysis of the individual characteristics of the respondents to the learning outcomes of using knowledge gained from the training to apply in practice. With different personal characteristics. Found that the knowledge gained from the training to apply in practice. The evaluation of persons trained in the preparation and selection of equipment in the resuscitation is appropriate to the patient's age, marital status. Type of ward / unit. Operating time And experience to the team, assisted living patients. Whole and the difference is significant at the 0.05 level feedback should be other factors. Affecting the evaluation of the knowledge gained from the training to use in practice. And should be evaluated in other ways, such as in medical practice to test knowledge before and after training and so on.
Key words: Evaluation Of Training Program