พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเจ้าหน้าที่ สังกัดกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง (Lifestyle Behaviors in Accordance with Philosophy of Sufficiency Economy for Officers under the Chamberlain Division in Bureau of the Royal Household)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่สังกัดกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่สังกัดกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงาน กองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง จำนวน 182 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.914 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เจ้าหน้าที่สังกัดกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวเองด้านการมีเหตุผลด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านความพอประมาณตามลำดับ
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่สังกัดกองมหาดเล็ก สำนักพระราชวัง ได้แก่ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (X7) ด้านความตระหนักในคุณค่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (X9) ด้านอายุ (X2) ด้านการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ที่มีการปฏิบัติจริง (X10) ด้านความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (X8) มีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 79.30 ดังสมการ tot = .474 + .359 (X7) + .251 (X9) + -.050 (X2) + .083 (X10) + -.197 (X8)
This research aimed to study: 1) lifestyle behaviors according to the philosophy of sufficiency economy for the officers of Chamberlain Division in Bureau of the Royal Household, and 2) factors affecting the lifestyle behaviors according to the philosophy of sufficiency economy for the officers of Chamberlain Division in Bureau of the Royal Household. The sample group used in the research consisted of 182 civil servants, employees, and personnel of the Chamberlain Division of the Bureau of Royal Household, selected by using proportional stratified sampling method. The research instrument was a questionnaire with reliability at the 0.914 level. The data were analyzed by computing frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The research results were as follows:
- Lifestyle behaviors according to the philosophy of sufficiency economy of the personnel under Chamberlain Division, Bureau of Royal Household were overall at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest mean was the virtue condition, followed by the self-immunity, reasonableness, knowledge condition, and moderation.
- The factors affecting the lifestyle behaviors according to the philosophy of sufficiency economy of the personnel of the Chamberlain Division, Bureau of the Royal Household were awareness of information about the philosophy of the sufficiency economy (X7), awareness of the value of the philosophy of the sufficiency economy (X9), age (X2), the learning of the philosophy of sufficiency economy from learning sources with practicality (X10), knowledge and understanding of the philosophy of sufficiency economy (X8), with the efficiency of prediction for 79.30%, as the equation: tot = .474 + .359 (X7) + .251 (X9) + -.050 (X2) + .083 (X10) + -.197 (X8).