กรอบมโนทัศน์ เรื่อง การใช้หลักความเมตตาในการสอนดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร (A Conceptual Model Of Metta (Loving-Kindness) Engagement In Thai Classical Music Teaching Of Assistant Professor Sangobseuk Thamviharn)

Main Article Content

พรปวีณ์ จันทร์ผ่อง (Pornpawee Junpong)
ดนีญา อุทัยสุข (Dneya Udtaisuk)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างกรอบมโนทัศน์เรื่อง เรื่อง การใช้หลักความเมตตาในการสอน ดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีฐานรากเป็นแนวทางการดำเนินการวิจัย (grounded theory research) โดยมีขั้นตอนในการวิจัยคือ ศึกษาข้อมูลเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยได้ศึกษาข้อมูลด้านอัตชีวประวัติ และแนวคิดการถ่ายทอดดนตรีไทยของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ความหมาย ลักษณะ และบทบาทของความเมตตา รูปแบบและวัตถุประสงค์ของการสอนดนตรีไทย และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis)สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยวิเคราะห์และนำเสนอเป็นกรอบมโนทัศน์


               ผลการวิจัยพบว่า กรอบมโนทัศน์เรื่อง เรื่อง การใช้หลักความเมตตาในการสอนดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร แบ่งได้ 5 ประเด็น ดังนี้ 1) การให้ด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก ท่านเป็นผู้สร้างบรรยากาศในการเรียนที่ดี เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขัน ให้ความรัก กำลังใจ และข้อคิดต่อศิษย์ 2) การให้ด้วยหลักความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน ใช้การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีความยืดหยุ่นในการสอน 3) การให้ความรู้ที่ถูกต้อง โดยมีความอดทน ใจเย็น ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบในหน้าที่การสอนของตนเองอย่างสูง 4) การให้ความรู้ที่ครบถ้วน โดยสามารถสอนได้ทุกเวลา จนได้รับการขนาดนามว่า “ตู้พจนานุกรมเพลงไทยเคลื่อนที่” และ 5) การให้ประสบการณ์ตรง โดยให้คำปรึกษา มอบโอกาสและประสบการณ์ทางดนตรีที่ดีและหลากหลายให้กับศิษย์


             The purpose of this research was to: create a conceptual model of Metta (Loving- kindness) in Thai classical music teaching of Assistant Professor Sangobseuk Thamviharn. This qualitative research applied grounded theory research methodology; reviewing literature was reviewed in many areas to map the conceptual framework. The literature data includes autobiographical information, his style and objectives in the transmission of Thai classical music. Moreover, resources related with the meaning, characteristics and roles of Metta (Loving- kindness) were reviewed. The data was gathered through in-depth interview and participative observation. The content was analyzed through inductive method, then synthesized as a conceptual model.


               The   research result indicated that:    a conceptual model of Metta (Loving-kindness) engagement in Thai classical music teaching and transmission of Assistant Professor Sangobseuk Thamviharn can be divided in to five aspects. 1) Kindness with positive psychology mind, where he infused and learning atmosphere with his sense of humor along with his love and support. 2) Kindness with understanding the individual differences; where he adapted his lessons to fit well with leach different learners. 3) Kindness to provide valid and reliable subject matters, where he dedicated his time and effort with high commitment. 4) Kindness to provide resourceful subject matters, where he was willing to give all knowledge, he had collected, to his students at any time needed. As a result, he was name “The moving encyclopedia of Thai classical music” 5) The kindness to provide real life music experiences, where he gave not only advise but also opportunities in variety as well as in quality.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts