ผลการเรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอู่ทอง / Effects of e-Learning by using STAD Technique
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ก่อนและหลังเรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 2) ศึกษาคะแนนพัฒนากลุ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอู่ทอง ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 48 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 2) บทเรียนอีเลิร์นนิงวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 5) แบบประเมิน ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน ( = 32.60, S.D. = 3.19) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 16.02, S.D.= 3.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. คะแนนพัฒนากลุ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีคะแนนพัฒนากลุ่มผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับเก่งมาก มีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 17.88
3. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการสร้างบรรยากาศในการทำงานกลุ่ม ด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม ด้านการแสดงความคิดเห็น และด้านการยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกภายในกลุ่ม โดยภาพรวม มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก ( = 2.64 และ S.D. = 0.59)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ มีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.88 และ S.D. = 0.99)
Abstract
The purposes of this research were to 1) compare learning outcome in mathematics on the topic of permutation and combination before and after e-learning by using STAD technique. 2) study the development of team achievement. 3) study group working behaviors of the students that e-learning by using STAD technique. 4) study students’ satisfaction towards e-learning by using STAD technique. The sample consisted of 48 students of Mathayomsuksa 6 during the academic year 2013 of U-Thong School.
The instruments of this research were 1) lesson plans of e-learning by using STAD technique. 2) e-learning lessons in permutation and combination. 3) e-learning outcomes test. 4) assessment of group working behaviors. 5) questionnaires on satisfaction towards e-learning by using STAD technique. The statistical analysis employed were mean, standard deviation and t-test dependent.
The results of this research as follow :
1. The learning outcomes on permutation and combination of Mathayomsuksa 6 before e-learning by using STAD technique were statistically significant higher than before learning at .01 level, after learning ( = 32.60, S.D. = 3.19) were higher than before learning ( = 16.02, S.D. = 3.08).
2. The development of team achievement on formative evaluation, such as Good Team, Great Team and Super Team. All were at the Great Team level. ( = 17.88) 3. Mathyomsuksa 6 students’ group working behaviors that e-learning by using STAD technique, such as responsibility, creation on group working environment, helping each other in a group, giving opinions and acceptance of group members’ opinions. All were at a high level. ( = 2.64 and S.D. = 0.59)
4. Mathyomsuksa 6 students’ satisfaction towards e-learning by using STAD technique on permutation and combination in a high level. ( = 3.88 and S.D. = 0.99)