การจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม/ Tourism Management in Grand Palcae and Emerald Budda Temple
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อศึกษาปัญหา และเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามสู่ความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของสำนักพระราชวังจำนวน 3 ท่าน สัมภาษณ์มัคคุเทศก์ที่มาปฏิบัติหน้าที่ในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 5 ราย และสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยแยกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 10 ราย นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวน 10 ราย และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาเอกสารประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารจดหมายเหตุ เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลการศึกษาจะวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนพรรณนาความ โดยมีผลดังต่อไปนี้
พัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือช่วงก่อนปี พ.ศ.2502 และช่วงหลังปี พ.ศ.2502 การจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามในช่วงก่อนปี พ.ศ.2502 ถือเป็นช่วงแรกเริ่มการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวของสำนักพระราชวังยังไม่ค่อยเป็นรูปธรรมมากนักเพราะว่าพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยังใช้ประเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงอยู่ ไม่ได้มุ่งเน้นทางด้านการท่องเที่ยวมากนัก และยังอยู่ในช่วงการบูรณะซ่อมแซม สำนักพระราชวังอนุญาตให้นักท่องเที่ยว เข้าชมเป็นครั้งคราวไป โดยไม่ได้มีการเก็บค่าเข้าชมแต่อย่างใด และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
การจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่วงหลังปี พ.ศ.2502 สำนักพระราชวังเริ่มจัดการการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างเป็นรูปธรรม เป็นระบบระเบียบ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างเห็นได้ชัด มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่นห้องสุขา ร้านอาหารเครื่องดื่มและร้านจำหน่ายของที่ระลึก และสามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้อย่างมีระบบ
Abstract
The study on ‘Tourism Management in Grand Palace and Emerald Buddha Temple (Wat Phra Kaew)’ has the objectives to study on the development of tourism management in Grand Palace and Emerald Buddha Temple (Wat Phra Kaew), and to study on the related problems and to suggest solutions to sustainable tourism management in the site. This research project is a qualitative one that relies on in-depth interview discipline. The participants to the interviews are 3 high ranking administrators of the Bureau of the Royal Household, 5 tour guides who work at the Grand Palace and 10 Thai and 10 foreign tourists who visit the site. In addition, secondary data from documents such as text books, articles, research papers, chronicles and public relations documents. The obtained data are analyzed with content analysis technique and presented as a descriptive report. The findings from the research reveal the following facts.
Tourism management in Grand Palace and Emerald Buddha Temple (Wat Phra Kaew) is divided into 2 phases, i.e., the first phase (before 2502 B.E. or 1959) and the current phase (1959 to present). The first phase is the beginning time for tourism management in the site. There were no substantial outcomes that concern tourism. In this phased, the major focus was the restoration of the constructions inside the complex. The Bureau of the Royal Household allowed tourists to visit the site just during certain periods, no fees charged and no facilities provided.
In the current phase or the period from after 1959 to present time, the Bureau of the Royal Household apparently improves its tourism management operations to be more substantial and systematically. Facilities such as toilets, food and drink shops and souvenir shops are established. Problems about tourism in the site are solved.