พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์ (Innovative Behavior of Academic support Staffs at Rajabhat University Rattanakosin Group)

Main Article Content

เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิตย์ (Ketsuda Buranasaksathit)
ชวนชื่น อัคคะวณิชชา (Chuanchuen Akkawanitcha)

Abstract

             การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ การสนับสนุนโดยเพื่อนร่วมงาน พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และผลการดำเนินงานเชิงนวัตกรรมขององค์กร 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ การสนับสนุนโดยเพื่อนร่วมงาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ 3) ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานเชิงนวัตกรรมขององค์กร โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 450 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง


               ผลการศึกษาพบว่า ระดับ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ การสนับสนุนโดยเพื่อนร่วมงาน และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน อยู่ในระดับมาก และผลการดำเนินงานเชิงนวัตกรรมขององค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนโดยเพื่อนร่วมงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน ส่วนการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการมีอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานเชิงนวัตกรรมขององค์กร


 


              This study aims to study 1) the level of self-efficacy, management support, coworkers support, employee innovation behavior and organizational innovation performance 2) the influence of self-efficacy, management support and coworkers support on the employee innovation behavior 3) the impact of employee innovation behavior towards the organizational innovation performance. The sample are 450 academic support staffs at Rajabhat University Rattanakosin Group.The questionnaire is employed as research instrument. Data is analyzed by the structural equation model (SEM).


              The results showed that the level of self-efficacy, management support, coworkers support and employee innovation behavior are high level while organizational innovation performance is medium level. The hypothesis testing results have found that self-efficacy and coworkers support have a positive influence on employee innovation behavior, the management support has a negative influence on employee innovation behavior, and the employee innovation behavior has a positive influence on the organizational innovation performance.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts