การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบSQ4Rกับวิธีสอนแบบปกติ/A comparison of reading comprehension achievement of mathayomsuksa I students taught by using SQ4R method and the traditional method
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับ วิธีสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยวิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนถาวรานุกูล จำนวน 2 ห้องเรียน โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มทดลองเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุมเรียนด้วยการสอนแบบปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยวิธีสอน แบบ SQ4R แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยวิธีสอนแบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยวิธีสอนแบบSQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R ระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare of reading comprehension achievement of Mathayomsuksa I students taught by using SQ4R method and the traditional method 2) compare of reading comprehension achievement of Mathayomsuksa I students before and after being taught by using SQ4R method and 3) study the students’opinions towards the SQ4R method. The total sample consisted of 2 classrooms of Mathayomsuksa I students who were studying in the second semester of the academic year 2013 in Thawaranukul School. The 2 classrooms, each of which comprised 40 students, Mathayomsuksa 1/5 were the experimental group who were taught by using SQ4R method and Mathayomsuksa 1/6 were the control group who were taught by using the traditional method.
The instrument used to collect were lesson plans, achievement test as an instrument of the pretest and the posttest, and a questionnaire inquiring the students’ opinions about employment of SQ4R method. The collected data were analyzed by the statistical means of Mean (), Standard Deviation (S.D.), t-test Independent, t-test Dependent and Content Analysis
The research findings were to: 1) With regard to the topic concerning reading comprehension abilities of Mathayomsuksa I students taught by using SQ4R method were significantly higher than the traditional method at the .05 level 2) With regard to the topic concerning reading comprehension abilities of Mathayomsuksa I students taught by using SQ4R method were significantly higher than before using SQ4R method at the .05 level. And 3) The students’ opinions toward SQ4R method were at a high agreement level.