สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง (Buddhist Monk’s Well-being: A Development of Well-being Promotion Model on Buddhist Way By Community Public Health Integration for Good Life Quality in Lampang province)

Main Article Content

ชลธิชา จิรภัคพงค์ (Chonticha Jirapakpong)
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา (Chaweewan Suwannapa)
ปุญยวีร์ มงคลพิพัฒน์พร (Punyavee Mongkongpipatphon)
พัฒน์นรี อัฐวงศ์ (Patnaree Attawong)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ และเพื่อเสนอการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง พระสงฆ์ ประธานชุมชน จำนวน 8 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มย่อย ได้แก่ พระสงฆ์ ตัวแทนชุมชน ประธานชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ของจังหวัดลำปาง ได้แก่  ด้านพฤติกรรมของพระสงฆ์ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพของพระสงฆ์ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยภายในวัด และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนของภาคี 2) รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง ได้แก่ กระบวนการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์กับการบูรณาการกับระบบการสาธารณสุข บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ และกระบวนการบริหารจัดการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ร่วมกับภาคี 3) เสนอการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักภาวนา 4  2) การดูแลสุขภาพตามระบบการสาธารณสุข ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน  การรักษาพยาบาล การฟื้นฟู  3) กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 4) สุขภาวะพระสงฆ์


 


              The objectives of this research to  study. The problem of enhancing the health of monks. The pattern of enhancing the health of monks and to develop a model of enhancing the health of monks in the Buddhist way by community public health Integration for good life quality in Lampang province. Informants in in-depth interviews : Primate Muang District, Lampang, Monk, President of the Community to tally 8 people. The data for the focus group : Monks, community representatives, President of the Community, Director of the Health Promoting Hospital District, President of village health volunteers to tally 16 people. The research instrument was an interview and the focus group. Analyze the content from the main points and divide them into sub-topics.


               The research found that : 1) The problem of enhancing the health of monks in the Buddhist way by community Public Health Integration for Good Life Quality in Lampang province. Monk behavior problem as Nutritional problems, Physical problems, Mental problems. The problem of self-care of monks. Environmental issues and sanitation within the temple. Involvement issues and the support of the Parties. 2) The pattern of enhancing the health of monks in the Buddhist way by community public health Integration for good life quality in Lampang province. The health care process of monks is integrated with the public health system and the process of managing the health of monks together with the Parties. 3) Development model of enhancing the health of monks in the Buddhist way by community public health Integration for good life quality in Lampang province consists of 1) Bhavana 4 2) Health Care in the Public Health System consists of health promotion, prevention, treatment, rehabilitation. 3) The process of managing monks' health is participatory. 4) Buddhist Monk’s Well-being good.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts