การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์สำหรับนิสิตครู (The Development of the Physical Education Department‘s Games by Flipped Classroom Idea Via Website for Student Teachers)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กระบวนการและการสร้างเว็บไซต์เกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตครู 2) เพื่อศึกษาผลและนำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เว็บไซต์เกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อทักษะความสามารถในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตครู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตสาขาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 32 คน โดยคัดเลือกตัวอย่างจากคุณสมบัติและความสมัครใจนิสิตต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งใช้เวลา 2 วัน/ สัปดาห์ วันละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7 ชุดคือ 1) แบบสังเกตพฤติกรรม 2) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เรียน 3) แบบทดสอบความรู้เกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์สำหรับนิสิตครู 4) แบบประเมินการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์สำหรับนิสิตครู 5) แบบประเมินเว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนเกม พลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์ 6) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษา และ 7) แบบรับรองรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมทักษะความสามารถในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ t-test และ Repeated Measures ANOVA
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ผ่านเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับนิสิตครู มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ วิธีการจัดกิจกรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ บทบาทผู้สอนและบทบาทผู้เรียน เว็บไซต์เกมพลศึกษา และการวัดประเมินผล และกระบวนการกระบวนการและการสร้างเว็บไซต์เกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยครูผู้สอนสร้างวีดิทัศน์และบทเรียนออนไลน์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาโดยจัดการเรียนการสอนเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นอธิบายทักษะด้วยวาจา หรือการเขียน ขั้นสาธิตทักษะ ขั้นการนำไปใช้ และ ขั้นสรุปที่ครูจะให้ข้อมูลป้อนกลับ (2) นิสิตครูที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์ มีทักษะความจำ ความเข้าใจคะแนนประเมินการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์สำหรับนิสิตครู หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการรับรองรูปแบบคือ ภาพรวมของรูปแบบการเรียนการสอนเกมพลศึกษา มีขั้นตอนในการจัดการเรียนที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86, SD = 0.13)
The purposes of the research were 1) to study the components, the procedure and to develop the PE game website on flipped classroom approach 2) to study the outcome and to present the procedure of learning and teaching via PE game website based on flipped classroom approach which affected on student teacher ‘s teaching ablity. Thirty-two samples were studied at the Faculty of Education, Chulalongkorn University. By purposive grouping ,they were all qualified and engaged in PE game website. The research had been conducted for 8 weeks, 2 days/week (2 hours/day), 16 periods in total. The research instruments included 1) behavior observation form, 2) questionnaire, 3) test on knowledge and understanding of using PE games website based on flipped classroom approach, 4) evaluation form of using PE games website based on flipped classroom approach, 5) evaluation form of PE game website’squality, 6) evaluation form of a lesson plan, and 7) certifying form of using PE games website based on flipped classroom approach to enhance teaching competence. To analyze the data, descriptive statistics, t-test and Repeated Measures ANOVA were conducted.
The results showed that:
(1) There were 4 core components of using PE games website based on flipped classroom approach which were 1) method and procudure of teaching PE based on flipped classroom approach, 2) roles of teachers and students, 3) PE games website, and 4) evaluation and the teaching and learning procedure including videos and online courses developed by the researcher were provided for the students with rules and how to play PE games comprising of 4 steps which were 1) describing skills by verbal or written instruction , 2) demonstrating, 3) applying, 4) wrapping up and giving feedback. (2) Those student teachers learning through PE games website based on flipped classroom approach significantly achieved the post-test scores on knowledge, undrstanding and competence skills into their teaching classes higher than the pre-test scores at the .05 level and certifying form of using PE games website based on flipped classroom approach to enhance teaching competence ( = 4.86, SD = 0.13)