การสืบสานนนาฏศิลป์ไทยของสถาบันบัรฑิตพัฒนศิลป์ The Inheritance of Thai classical Dance, Bunditpatanasilpa Institute

Main Article Content

ปานจันทร์ - แสงสวาสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการสืบสานนาฏศิลป์ไทยและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์กับการสืบสานนาฏศิลป์ไทย โดยกำหนดข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประสบการณ์การแสดงนาฏศิลป์ไทยในและต่างประเทศ เป็นตัวแปรต้น ส่วนการสืบสานนาฏศิลป์ไทยของนักศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน  คือ1.ด้านความรู้และทักษะ 2.ด้านทัศนคติ 3.ด้านความคาดหวัง และ4.ด้านการเผยแพร่นาฏศิลป์ไทย เป็นตัวแปรตาม

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ระดับปริญญาตรี ระดับชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวน 111 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการสืบสานนาฏศิลป์ไทย และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Z-test

ผลของการวิจัย พบว่า การสืบสานนาฏศิลป์ไทยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับหนึ่ง ด้านทัศนคติที่มีต่อนาฏศิลป์ไทย มีระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.22) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s = .596) อันดับสอง ด้านความคาดหวังที่มีต่อนาฏศิลป์ไทย มีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.12) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s = .618) อันดับสาม ด้านความรู้และทักษะด้านนาฏศิลป์ไทย มีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (µ = 3.81) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s = .596) และอันดับสุดท้าย ด้านการเผยแพร่นาฏศิลป์ไทย มีระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (µ = 3.68) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s = .830)

ผลการทดสอบสมมติฐาน นักศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ที่มี เพศ ระดับชั้นปีการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประสบการณ์การแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งในและต่างประเทศที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาส่งเสริม และผลักดัน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้มากขึ้น เพื่อการสืบสานนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่ไว้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : การสืบสานนาฏศิลป์ไทย

Abstract

This research have objectives to study the Thailand dance heritage and compare the difference between the students’ personalize in Bunditpatanasilpa Institute and Thailand dance heritage by specifying the personalize data such as gender, grade school year, learning achievement and experience in Thai dance performance are an independent variable. Thailand dance heritage of the students in Bunditpatanasilpa Institute. The fourth element as 1.Knowledge and skill 2.Attitude 3.Expectation and 4. Thailand dramatic publishing is the dependent variable.

Populations in the research are the students in bachelor’ degree in the year  2nd, 3rd and 4th in Bunditpatanasilpa Institute for 111 persons. For collecting data by questionnaire and statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Z-test. The result found that Thailand dance heritage.

The results of the study indicated that the continuing drama Thailand as a whole. At a high level considering that the side with the highest priority. Attitudes towards Dance Thailand. With the highest level with a mean (μ = 4.22) and standard deviation (s = .596). second in the expectations for the Performing Arts Thailand with more levels, the mean (μ = 4.12) and the standard deviation. (s = .618) ranks third in the knowledge and skills in dance, Thailand with more levels, the mean (μ = 3.81) and standard deviation (s = .596) and ranked last. The Dramatic Publishing Thailand with more levels, the mean (μ = 3.68) and standard deviation (s = .830).

Hypothesis testing Student in Bunditpatanasilpa Institute with gender, grade school year. Achievement and experience cultural performances, both in Thailand and abroad are different. But it's important to consider encouraging students to participate in the dissemination of the more dramatic Thailand. Dance for Conservation in Thailand to remain sustainable.

Key words : Thailand dance heritage

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ปานจันทร์ - แสงสวาสดิ์

การสืบสานนาฏศิลป์ไทยของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์