การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The development of a causal model of satisfaction in the quality of work life of employees of industrial products listed on the Stock Exchange of Thailand: Analysis of Multilevel Structural Equation Models)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 381 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน (proportional stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่พัฒนาขึ้น
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีค่า c2 = 199.905, df = 108, c2 /df = 1.851, CFI = 0.952, TLI = 0.943, RMSEA= 0.052, SRMRW = 0.044 และ SRMRB = 0.124 ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) ของแต่ละตัวแปรสังเกตได้ในโมเดลการวัดความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีค่าระหว่าง 0.056-0.083 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวแปร แสดงว่าข้อมูลมีความสอดคล้องกันสูงและความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผันแปรตามการรับรู้ของพนักงานแต่ละคน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลทางตรงและค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.67 และ 0.41 ตามลำดับ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระดับบุคคล ได้ร้อยละ 38.00 โดยปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร เป็นปัจจัยที่สำคัญและส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลทางตรงและค่าสัมประสิทธิ์ ขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ 2.854 โดยตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร้อยละ 70 พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวในโมเดลการวัดความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีระดับนัยสำคัญที่ .01 และมีความสำคัญในระดับใกล้เคียงกัน โดยมีปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรและบรรยากาศองค์กร ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
This research aimed to study the causal model and the fitness of the structural equation model of the satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under the Stock Exchange of Thailand (SET). The sample of this research included 381 employees who worked in the industries registered under SET obtained by the stratified random sampling method. The data collection tool was a rating scale questionnaire. The data was analyzed using computer software for descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, a confirmatory factor analysis (CFA), and a multilevel structural equation modeling (MSEM).
The result showed that the multilevel structural equation modeling of the satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under SET had a good fit (c2 = 199.905, df = 108, c2 /df = 1.851, CFI = 0.952, TLI = 0.943, RMSEA= 0.052, SRMRW = 0.044 and SRMRB = 0.124). The intraclass correlation (ICC) among the observed variables in the measurement model of satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under SET were between 0.056 - 0.083 which were statistically significant at .01 level in all variable. This implied the good fit of the model. The satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under SET was significantly varied by each employee’s own perception at .01 level by the indication of the coefficient of direct effect (0.610) and total effect (0.241). All of the variables in the model were significantly accountable for the variances of the satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under SET at .01 level while all shared similar degree of impact. Therefore, the organizational attachment and organizational atmosphere affected the satisfaction of quality of work life among employees working in the industries registered under SET.