องค์ประกอบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (A study of components of online learning resources on MOOC to enhance life skills for hearing impaired students)

Main Article Content

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม (Kemmanat Mingsiritham)
กรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์ (Gan Chanyawudhiwan)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้แบบสอบถามที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและผ่านการตรวจสอบความเที่ยงโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคและกระจายออนไลน์ไปยังพนักงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการตอบกลับที่จำนวน 138 ฉบับตามการสุ่มด้วยการวิเคราะห์กำลัง (Power Analysis) ด้วยโปรแกรม G*Power3.0.10 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square: PLS) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS 3.0 ผลที่ได้พบว่าการรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับ CSR มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสอดคล้องในภาพลักษณ์แห่งตน (ß=0.613, t=10.423) ความผูกพันต่อองค์การ (ß=0.530, t=8.204) และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ (ß=0.378, t=5.848) ความสอดคล้องในภาพลักษณ์แห่งตน และความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ที่ ß=0.347, t=4.839, ß=0.253, t=3.573 ตามลำดับ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (ß=0.104, t=1.071) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อองค์การอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานโดยผ่านการทำกิจกรรรม CSR ที่เกิดจากความสอดคล้องในภาพลักษณ์แห่งตน และความผูกพันต่อองค์การ


 


              The purpose of this research was to investigate the effect of employee perceived CSR initiative to organizational citizenship behavior in electronic industries. Used the questionnaire from the literature review and testing the reliability with alpha cronbach coefficient. Questionnaire was distributed online to employees in the Electronic Industry and 138 responses in accordance with the power analysis randomness with G*Power3.0.10 program. The data were analyzed by the partial least squares statistical analysis method (PLS) with SmartPLS 3.0 software. The result found that Employee Perceived CSR Initiative has a positive influence on Self-image Conjrurence (ß = 0.613, t = 10.423), Organizational Commitment (ß = 0.530, t = 8.204), and Organizational Justice (ß = 0.530, t = 8.204). Self-image Cogruence and Organizational commitment has a positive influence on Organizational Citizenship Behavior at ß=0.347, t=4.839, ß=0.253, t=3.573, consequently. Organizational Justice has not influence on Organizational Citizenship Behavior (ß=0.104, t=1.071). From the results of research, it is useful to the Electronic Industry Organization to create good citizenship behavior of employees through CSR activities that result from the congruence of their image, organizational commitment.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts