พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคำ อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว (Self-Care Behaviors of Hypertensive Patients In Ban Nam Kham Health Promoting Hospital, Khong Hat District, Sa Kaeo Province)

Main Article Content

ศศิธร ตันติเอกรัตน์ (Sasithon Tantiekkarat)
อภิชัย คุณีพงษ์ (Apichai Khuneepong)

Abstract

                 การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคำ  อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ตำบลบ้านน้ำคำ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง การเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ใช้วิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ไคสแควร์ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับดี (   gif.latex?\bar{x}  = 3.37,S.D.= 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการจัดการความเครียด พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับดี พฤติกรรมการบริโภคอาหาร(  gif.latex?\bar{x}  = 3.43,S.D.= 0.29) พฤติกรรมการออกกำลังกาย ( gif.latex?\bar{x}  = 3.32 ,S.D.= 0.41) และพฤติกรรมการจัดการความเครียด(  gif.latex?\bar{x}  = 3.37 , S.D.= 0.38) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยนำ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ รายได้ของครอบครัว การเข้าถึงบริการสุขภาพ ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 (p<.05)


 


               This cross-sectional survey research aimed to study factors related to self-care behaviors among hypertensive patients in Ban Nam Kham Health Promoting Hospital, Khong hat District, Sa Kaeo Province. A sample of 120 persons were stratified random sampling selected from primary hypertensive patients. General information, knowledge about self-care behavior, access to health services, social support and self-care behavior questionnaires were used for collecting data. The statistics used in the analysis were percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson's product moment correlation coefficient. The results showed that most of the samples were female. The overall self-care behaviors had a good level; (M = 3.37, S.D. = 0.25). In details, food behavior (M= 3.43, S.D. = 0.29) exercise behavior (M = 3.32, S.D. = 0.41) and stress management behavior (M = 3.37, S.D. = 0.38) were good level. Predisposing factors:  age, education level, occupation enabling factors: family Income, health services access reinforcing factors: social support were significantly related to self-care behaviors. (p<.05).

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts