การพัฒนาสมรรถภาพด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา โดยใช้การนิเทศแบบคลินิก ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

Main Article Content

Sayan Maha Janvibun

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัยแบบการทดลองเบื้องต้น แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนเรียนและสอบหลังเรียน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ก่อนและหลังได้รับการนิเทศแบบคลินิก 2) เพื่อศึกษาความสามารถจากการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน หลังได้รับการนิเทศแบบคลินิก 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศแบบคลินิกของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ก่อนและหลังได้รับการนิเทศแบบคลินิก 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบคลินิก 6) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา โดยพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่ได้รับการนิเทศแบบคลินิก และ7) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา โดยพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่ได้รับการนิเทศแบบคลินิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 5 รูป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 ห้องเรียน ที่ได้รับการสอนโดยพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 101 คน ได้มาด้วยวิธีการอาสาสมัคร ทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 2) แบบประเมินความสามารถจากการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 3) แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน เกี่ยวกับกระบวนการนิเทศแบบคลินิก 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบคลินิก 7) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา และ 9) แผนการนิเทศแบบคลินิก จำนวน 4 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

 ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนหลังได้รับการนิเทศสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) ความสามารถจากการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

3) ผลคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศแบบคลินิก ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนหลังได้รับการนิเทศสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    

4) ความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

5) ความคิดเห็นของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบคลินิก โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

6) ผลการเรียนรู้เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

7) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 Abstract

The objectives of this experimental research are 1) to compare knowledge and understanding about learning process using ask and answer guided teaching method with clinical supervision of Buddhist monks teaching morality in schools before and after clinical supervision, 2) to study the ability in learning process using ask and answer guided teaching method with clinical supervision of Buddhist monks teaching morality in schools after clinical supervision, 3) to compare knowledge and understanding about learning process clinical supervision of Buddhist monks teaching morality in schools, 4) to study the opinion of Buddhist monks teaching morality in schools on learning process using ask and answer guided teaching method, 5) to study the opinion of Buddhist monks teaching morality in schools on clinical supervision, 6) to compare learning outcomes of student’s Buddhism principles schools before and after learning process using ask and answer guided teaching method clinical supervision, and 7) to study the students’ opinions for learning process using ask and answer guided teaching method with clinical supervision of Buddhist monks teaching morality in schools.

The samples are 5 Buddhist monks teaching morality in schools under Singburi Primary Educational Service Area, 5 classrooms of 101 Prathomsuksa 6 students who learn from this method. They were all volunteer samplers. This research was experimented in the 2nd semester of 2556 academic year. The research pattern is The One Group Pretest - Posttest Design. The implements in this research consist 1) paper tests for testing knowledge and understanding of Buddhist monks teaching morality in schools about learning process using ask and answer guided teaching method, 2) assessment paper to test knowledge and understanding learning process using ask and answer guided teaching method, 3) observation paper for lesson plan, 4) paper tests for testing knowledge and understanding of Buddhist monks teaching morality in schools under clinical supervision, 5) questionnaires for asking opinions Buddhist monks teaching morality in schools for learning process using ask and answer guided teaching method, 6) questionnaires for asking opinions Buddhist monks teaching morality in schools for clinical supervision, 7) paper tests for testing students’ learning outcome about Buddhism principles knowledge, 8) questionnaires for asking students’ opinions for learning process using ask and answer guided teaching method, and 9) 4 supervision plans. In data analysis, the percentage, the mean, the standard deviation, the T-test dependent and the content analysis were being used.

 

The finding were as follows :

1) The score result of Buddhist monks teaching morality in schools learning and understanding by learning process using ask and answer guided teaching method after clinical supervision was significantly higher than before clinical supervision at the level of .05.

2) The capability of Buddhist monks teaching morality in schools in using learning process using ask and answer guided teaching method was in a good level.

3) The score result of Buddhist monks teaching morality in schools learning and understanding process clinical supervision after clinical supervision was significantly higher than before clinical supervision at the level of .05.

4) The Buddhist monks teaching morality in schools overall opinions on learning process using ask and answer guided teaching method was in a very good level.

5) The Buddhist monks teaching morality in schools overall opinion on clinical supervision was in a very good level.

6) The Prathomsuksa 6 students’ learning outcomes about Buddhism principles knowledge after learning process using ask and answer guided teaching method were significantly higher than before learning process at the level of .05

7) The students’ opinion on learning process using ask and answer guided teaching method was at a very high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Sayan Maha Janvibun

เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

โครงการขยายห้องเรียนวัดพิกุลทอง

93 ม.3 ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง

จ.สิงห์บุรี 16140