การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน* The Development of the Risk Student Care Management Model for The Primary Schools Under the Office of the Basic Educa
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงจากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 6 โรงเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง นำผลมาร่วมสังเคราะห์เป็นรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง แล้วศึกษาความสมบูรณ์ของรูปแบบโดยการจัดประชุมสัมมนา (connoisseurship) ของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการแนะแนว ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 10 คน 2)ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและการลดภาวะเสี่ยงของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล โดยทำการทดลองกับโรงเรียนวัดใหม่สุคนธาราม จำนวน 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง แบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และแบบสำรวจการลดภาวะเสี่ยงของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงเป็นรายบุคคล แล้ว 3) ศึกษาความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการแนะแนว ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
* วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความ เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัย
** นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหอมเกร็ด ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 08-9744-2446 E-Mail Address : ya2499@gmail.com
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ ศลโกสุม , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพทูรย์ โพธิสาร
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงตามระบบและกลไก ปัญหา อุปสรรค ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่ามีการดำเนินการในด้าน การกำหนดนโยบาย กำหนดโครงสร้างการบริหาร กำหนดบทบาทหน้าที่ การวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินงานตามแผน การนิเทศ กำกับติดตาม ปัญหา อุปสรรค ผลลัพธ์การดำเนินงาน
2. รูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ การดำเนินงาน การกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และการประเมินผลและรายงานผล
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีการปฏิบัติที่ได้ผลดีอยู่ในระดับมาก ( = 4.41 , = 0.39 ) และภาวะเสี่ยงของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล มีภาวะเสี่ยงลดลงร้อยละ 100 แต่ยังต้องดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
4. รูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.44, = 0.41 )
คำสำคัญ : การดูแลช่วยเหลือ /นักเรียนกลุ่มเสี่ยง
ABSTRACT
The Purpose of this research were to design and make the Risk Student Care Management Model for the Medium Primary Schools under the Office of the Basic Education Commission, to study the effiectiveness of the Risk Student Care Management Model for the Medium Primary Schools under the Office of the Basic Education Commission and to study the used model appropriateness of the Risk Student Care Management Model for the Medium Primary Schools under the Office of the Basic Education Commission. The conducting this research was divided into 3 stages : 1) to study the six sample schools about the situations of the Risk Student Care Management by using the structured interview form. The result’s interview was synthetic for the Risk Student Care Management Model and then to have the connoisseurship for the complete model by the ten specialists in educational administration, guidance and the Risk Student Care. 2) to study the effiectiveness in the efficiency evaluation of the Risk Student Care Management and the decreasing risk students survey , the Risk Student Care Management Model was experimented in one school – Watmaisukoltharam School. The datas obtained were the Risk Student Care Management Model, the efficiency evaluation of the Risk Student Care Management form and the decreasing risk students survey form 3) to study the used model appropriateness of the Risk Student Care Management Model by the ten specialists in educational administration, guidance and the Risk Student Care. The research instrument used on this study the used model appropriateness questionnaire form. Statistics Employed in the research were amount, percentage, mean and standard deviation.
The research finding revealed the following :
1. The operating conditions of school about the Risk Student Care Management with system and mechanism, problem obstacle, result of operations consisted of : Policy, Structure, Role, Planing, Doing, Monitoring, Problem Obstacle, Results of operations
2. The Risk Student Care Management Model consisted of 5 components : Strategy, Structure and Role, Implementation, Monitoring and Evaluation and Report
3. The effectiveness of the Risk Student Care Management Model was found : The efficiency evaluation of the Risk Student Care Management was at high level ( = 4.41 , = 0.39) and the risk students had the lower risk at 100 %, but have to take care continuous the risk students.
4. The used model appropriateness of the Risk Student Care Management Model was at high level ( = 4.44, = 0.41 )
Keywords : Care Management/the Risk Student