การวิเคราะห์พึ่งตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม Self – Reliance Analysis of Dairy Farmers in Thunglooknok Sub-district Kamphaeng Sean District Nakhon Pathom Province.

Main Article Content

Suthida Chet-singha

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพึ่งตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 62 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และใช้สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำการพยากรณ์การพึ่งตนเองได้ของเกษตรกรโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05

การศึกษาพบว่า เกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำนมดิบให้สหกรณ์ 53,198.02 บาท/ตัว/ปีการขายลูกโคและโคคัดทิ้ง คิดเป็นเงิน 21,606.45 บาท/ปี และจากการจำหน่ายมูลโคแห้ง (กระสอบละ 13บาท) คิดเป็นเงิน 12,962.58 บาท/ปี ในส่วนต้นทุนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็นต้นทุนคงที่เท่ากับ 3,347.36 บาท/ตัว/ปี และต้นทุนผันแปรเท่ากับ 30,860.16 บาท/ตัว/ปี นอกจากนี้ ยังมีรายจ่ายนอกภาคการเกษตร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เท่ากับ 68,175.81 บาท/ครัวเรือน/ปี เมื่อคำนวณรายได้สุทธิพบว่า เกษตรกรต้องมีหน่วยการผลิตขึ้นอีกอย่างต่ำ 2 หน่วยการผลิต (แม่โครีดนม) จึงจะมีการพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อศึกษาการพึ่งตนเองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน 5 ด้าน อยู่ในระดับ มีการพึ่งตนเองได้พอประมาณ (ค่าเฉลี่ย = 3.25) แต่เมื่อพิจารณาการพึ่งตนเองได้ในแต่ละด้านของเกษตรกร พบว่า ด้านจิตใจ เกษตรกรมีการพึ่งตนเองได้มาก (ค่าเฉลี่ย = 3.66) ในขณะที่ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากร และด้านสังคม มีการพึ่งตนเองได้พอประมาณ ค่าเฉลี่ย = 2.83, 3.03, 3.38 และ 3.43 ตามลำดับ และองค์ประกอบที่สามารถนำมาชี้วัดการพึ่งตนเองได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนแม่โครีดนม และการจดบันทึกข้อมูลโคนม โดยมีค่าP เท่ากับ 0.010 และ 0.007 ตามลำดับ

This study aimed to investigate the self - reliance of dairy farmers in Thunglooknok sub-district Kamphaeng Sean district Nakhon Pathom Province. The samples used in this study were 62 dairy farmers. The instrument used to collect the data were an interview. Descriptive statistically such as frequency, percentage and mean were used in data analysis. Inference statistically, multiple regression, was used to predict the self -reliance of farmers by determining the statistical significance at the 0.05 level.

The study found farm income from the sale of raw milk to the cooperative 53,198.02 baht/head/cow sale of calves, culling cows in the amount of 21,606.45 baht/year and dry cow dung (13 baht/sack) in the amount of 12,962.58 baht/year. Fixed production costs of farmers were 3,347.36 baht/head/year whereas variable costs were 30,860.16 baht/head/year. There are also non - agricultural expenditure 68,175.81 baht/household/year. When calculating the net income it was found that farmers must have at least two more production units (2 cows) in order have self – reliance. Studying about farmers self – reliance in 5 aspects; technology, economic, resources, psychology and social, it was found that they were at moderate level (mean = 3.25). When considering in each aspect, psychology was found at high level (mean = 3.66) whereas the rest, technology, economic, resources and social were at moderate level mean = 2.83, 3.03, 3.38 and 3.43 respectively.

Indicator elements of dairy farmer’s self – reliance which had statistically significance at the 0.05 level were number of milking cows and data recording of dairy cows the P values were 0.010 and 0.007, respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Suthida Chet-singha

นิสิตบัณฑิตศึกษา (ป.โท)

สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการเกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน