การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/The Development of Learning Achivement and Thinking A

Main Article Content

Kawee Potisutha

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อน และหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อน และหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 41 คน

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนปฐมนิเทศ จำนวน  1 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ จำนวน  10 แผน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้  3)  แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

          2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

          The purposes of this research were: 1) to compare the learning outcomes of Mathayomsuksa 3 students on the aspects of environmental problems in North and South America before and after the participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique. 2) to compare the thinking analysis skills of Mathayomsuksa 3 students on the aspects of environmental problems in North and South America before and after the participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique. 3) to study the opinion of Mathayomsuksa 3 students toward the cooperative learning model with the six thinking hats technique. The sample of this research consisted of 41 Mathayonsuksa 3/1 students studying in the first semester during the academic year 2014 in Samchukratanapokaram School, Samchuk District, Suphanburi Province of the Office of Secondary School District 9.

          The instruments employed to collect data were: 1) lesson plans, including an introduction plan and ten lesson plans using the cooperative learning model with the six thinking hats technique, 2) leaning outcomes test on the aspects of environmental problems in North and South America, 3) an analysis thinking test, and 4) a questionnaire on the opinion of Mathayomsuksa 3 students about the participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique. The collected data was analyzed by mean (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.

          The findings were as follows:

          1. The learning outcomes of Mathyomsuksa 3 students on the aspects of environmental problems in North and South America gained after the participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique were higher than the learning outcomes gained before the participation in the learning at the level of the .05 significance.

          2. The thinking analysis skills of Mathayomsuksa 3 students gained after participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique were higher than those gained before the participation at the level of the .05 significance.

          3. The opinion of Mathayomsuksa 3 students toward the participation in the cooperative learning model with the six thinking hats technique on the aspects of environmental problems in North and South America was in the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Kawee Potisutha

ครู/โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม