การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

สุนิสา ละวรรณวงษ์
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.  เพื่อศึกษาสภาพการณ์ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน  2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ จำนวน 385  คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 35 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ระดับลึก  และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า 1.  สภาพการณ์ ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี มีจุดแข็งคือ แรงงานมีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเจียระไน ที่มีทักษะสูงและฝีมือประณีตมีการใช้อัญมณี (นิล) ที่มีแหล่งกำเนิดภายในท้องถิ่น จุดอ่อนคือ ขาดแคลนวัตถุดิบ (พลอย) และมีราคาแพง ขาดแคลนเงินลงทุน ขาดทักษะด้านการออกแบบโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีการสร้างตราสินค้าเป็นของตนเอง ขาดแคลนแรงงานช่างฝีมือและบุคลากรฝ่ายขาย  มีการส่งเสริมการขายค่อนข้างน้อย ขาดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและการตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการ  ส่วนใหญ่ มีการขายสินค้าตัดราคากันเองระหว่างคู่แข่ง ด้านโอกาสคือ จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ที่เชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งในกลุ่มประเทศอาเซียน และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ที่เอื้อประโยชน์ทางการค้า และด้านอุปสรรคคือ มีการแข่งขันด้านราคาสูง และเป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองสูง 2.  การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เรียกว่า “PLOY KAN  Model”  มีองค์ประกอบย่อย 7 ประการคือ          (1) P- Pioneer Creativity Design (2) L-Learning Organization (3) O-Organizational Culture (4) Y-Yield Certification Mark (5) K-Kanchanaburi Recognized Value (6) A-Adaptation Organizational (7) N-Networking Business Partners ซึ่งผ่านการตรวจสอบและรับรองรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 3. แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้ประกอบการจะต้องผนึกกำลังกับองค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อย่างเข้มแข็งและจริงจัง โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพหลักคือ สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อกำหนดเป็นนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของจังหวัดกาญจนบุรี และแปลงกลยุทธ์การวิจัยไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน  และมีความต่อเนื่อง

 Abstract 

                  This research aimed to investigate the state of strategic management of gems and jewelry community enterprise of Kanchanaburi Province for trading competition toward ASEAN, to develop a model of strategic management of gems and jewelry community enterprise of Kanchanaburi Province for trading competition toward ASEAN, and to study ways in strategic management of gems and jewelry community enterprise of Kanchanaburi Province for trading competition toward ASEAN, all of which employed the Research and Development method. The sample group comprised 385 product consumers and the main informants were 35 persons working in the gems and jewelry enterprise domain. The data were collected by both quantitative and qualitative method. The research instrument  were composed of a questionnaire, an in-dept interview, and non-participatory observation. The collect data then were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

                 The research results revealed that: 1. The state of implementation of gems and jewelry community enterprise of Kanchanaburi Province had a strength, that is, employees were equipped with local wisdom in cutting gems, with high skill and good workmanship, using spinel found in the local area. The weakness, however, was that the raw materials (gemstone) were scarcely available, with high price, and lack of funding. In addition, there was also lack of skills in designing ,with creative thinking to create their own brand. There was a shortage of skilled labor and  sales personnel, and also minimal sales promotion. There was no research and production and marketing technology development; in addition, most entrepreneurs had a price dumping between competitors.  As for opportunities, Kanchanaburi is located in the West Economic Corridor, with connected transportation to other ASEAN countries and tourism potential. This would be conducive to trades.  The obstacles were that the price of the products would be highly competitive and the luxurious goods were susceptible to the economic, social, and political circumstances; 2. The development of strategic management model, called PLOY KAN Model, had 7 components: P-Pioneer Creativity Design: L-Learning Organization; O- Organizational culture; Y-Yield Certification Mark; K-Kanchanaburi Recognized Value; A- Adaptation Organization; and N-Networking Business Partners. The model had passed verification by the experts in the field for its appropriateness, feasibility for real application; 3. Concerning ways for strategic management of gems and jewelry community enterprise of Kanchanaburi Province for trading competition toward ASEAN, it follows that entrepreneurs had to solidify the strength with related state organizations and private sectors seriously, with Kanchanaburi Provincial Office acting as   a host, to specify the policy and strategy of the province and adapt the research strategy into a clear and concrete practice with continuity.  

KEY WORDS:  STRATEGIC MANAGEMENT / GEMS AND JEWELRY / COMMUNITY EXTERPRISE

 

               

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

สุนิสา ละวรรณวงษ์

อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี