การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศศิพร ต่ายคํา
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี 2) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี 3) ทดลองใช้รูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี

ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการมีความคาดหวังสูงกว่าสภาพความเป็นจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี ได้รูปแบบชื่อ LADBUAKHAO Model มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้ (L = Learning) การสะสมข้อมูล  (A = Accumulating Data) การออกแบบและความแตกต่าง (D = Design and Difference) การระดมสมอง (B = Brainstorming) ความมีประโยชน์ (U = Utility) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (A  = Appropriate Technology) การจัดการความรู้ (K = Knowledge Management) ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (H = Homogeneous) การยอมรับผลิตภัณฑ์ (A = Approved Product) และองค์กรแห่งการเรียนรู้ (O = Organization Learning) และผ่านการรับรองรูปแบบ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการประเมินผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ส่วนความคิดเห็นของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนต่อการประเมินการปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถนำทรัพยากรท้องถิ่น เอกลักษณ์ท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาผสมผสานเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชน (4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบในระดับมาก ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อรูปแบบทุกด้านในระดับมาก และการถอดบทเรียนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนได้นำเอาวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ตาม               รูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์หรือการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

 

Abstract

The study was conducted by using the Research and Development Method. The purposes of this research are to (1) study the basic information and needs assessment for developing the creative product model in order to value-added products of small and micro community enterprises (SMCEs) in Ratchaburi province. (2) develop the creative product model in order to value-added products of SMCEs in Ratchaburi province.          (3) experiment the creative product model to value-added products of SMCEs in Ratchaburi province. (4) evaluate and improve the creative product model to value-added products  of SMCEs in Ratchaburi province.

The findings of the research are as below; (1) the entrepreneurs’ expectation is statistically significantly higher than existing condition at the 0.01 level.               (2) the development of creative product design to value-added of  the SMCEs of  Ratchaburi province, LADBUAKHAO Model has 10 indicators, namely, L (Learning), A (Accumulating  data), D (Design & Difference), B (Brainstorming), U (Utility), A (Appropriate Technology), K (Knowledge Management), H (Homogeneous), A (Approved Product), O (Organization Learning) which approved by the experts. (3) the experiment involved experimental group and showed learning achievement after activity statistically significantly higher than before activity at the 0.01 level. Evaluation of creative product and value-adding has a good level of mean and the entrepreneurs’ opinion to the evaluation is very good. They can utilize resource, identity, and indigenous knowledge to create new products which increase an income for SMCEs. (4) evaluating and development identify that consumers are very satisfied with the product prototype and participants are very satisfied with every aspect of the Model. Lessons learned showed that SMCEs entrepreneurs in Ratchaburi province are applying product value-adding, using the creative product model.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ศศิพร ต่ายคํา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต