สถาปัตยกรรมกับการเคลื่อนที่ของเด็ก

Main Article Content

รงรอง วงษ์วาล

Abstract

          การเคลื่อนที่ของเด็ก (Children Movement) เกิดจากสัญชาติญาณการอยู่รอด และความอยากรู้อยากเห็น จากงานวิจัยของ ดร.พอล อี เดนนิสัน และ เกล อี เดนนิสัน(Paul E Dennison Ph.D. & Gail EDennison) ได้ทำการวิจัยเรื่องการบริหารสมอง(Brain Gym) ด้วยการเคลื่อนที่ที่สามารถส่งผลต่อการพัฒนาการของสมองทั้งด้านซีกซ้ายและซีกขวาของเด็กได้จริง(1) ข้าพเจ้าจึงได้เล็งเห็นความสำคัญโดยใช้วิธีการออกแบบงานสถาปัตยกรรมให้สามารถส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเด็ก โดยออกแบบงานพื้นผิว ระนาบแนวตั้ง(Vertical Plane)ระนาบแนวนอน(Horizontal Plane) และ ที่ว่าง(Space) ทางสถาปัตยกรรมให้สามารถเกิดการปรับเปลี่ยน(Flexible)ได้เพื่อส่งผลต่อการเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่ช้า เร็ว การเคลื่อนที่ในที่แคบ ซึ่งบังคับให้เกิดการบิดตัวการเคลื่อนที่ ที่พื้นผิวด้านบนกดต่ำลงมาเพื่อเกิดก้มตัวของร่างกาย โดยพยายามให้การเคลื่อนที่เป็นไปโดยอิสระและสนุกสนาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาสมองของเด็กโดยผ่านการเล่นพื้นที่สำหรับเล่นของเด็กในประเทศไทย ปัจจุบันยังค่อนข้างขาดการคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการละเล่นแบบไทยและการล่ะเล่นแบบสากลร่วมกัน ดังนั้นพื้นที่เล่นควรที่จะสามารถปรับเปลี่ยน(Flexible)ได้เพื่อเกิดลักษณะที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่(Movement)ที่มีศักยภาพมากกว่า ทั้งยังช่วยรักษาวัฒนธรรมของไทยเอาไว้โดยมีการใช้การล่ะเล่นแบบไทยอยู่ในงานออกแบบ รวมทั้งลักษณะการเลือกที่ตั้งที่เหมาะสม มีการคำนึงถึงช่วงเวลาที่เด็กเล่นในพื้นที่เป็นทั้งแสง(Light) และเงา(Shadow) สามารถเกิดการปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลา(Timing) เช่น ฤดูร้อน การออกแบบจะเกิดการปรับเปลี่ยนให้อยู่ขอบเขตพื้นที่ของเงา และในฤดูหนาว การออกแบบก็จะเกิดการปรับเปลี่ยนให้อยู่ ในขอบเขตพื้นที่ของแสง โดยใช้เทคนิคการปรับเปลี่ยนด้วยวิธีการ การหมุน(Rotate) และการพับ(Fold) เพื่อเกิดการปรับเปลี่ยนของรูปทรง(Form) และที่ว่าง(Space) ที่น่าสนใจทางสถาปัตยกรรม ต้องการทำให้ได้พื้นที่ที่มีการออกแบบมีศักยภาพและการคล่องตัวสูงเพื่อการประยุกต์ในการใช้พื้นที่

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สายแนวความคิดในการออกแบบ มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาประเด็นความสัมพันธ์ทางแนวความคิดระหว่างการเคลื่อนที่ของเด็ก และการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเน้นการศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ แนวความคิดและวิธีการของการเกิดการเคลื่อนที่ที่มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดทางสถาปัตยกรรมผ่านกรณีศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเด็กและการเล่นของเด็ก

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ