การคาดคะเนส่วนสูงจากความยาวกระดูกหน้าแข้งและกระดูกปลายแขนด้านในของประชากรไทย

Main Article Content

อุทิศ ศรีวิชัย

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงกับความยาวกระดูกหน้าแข้ง
(Tibia)และกระดูกปลายแขนด้านใน(Ulna) ของประชากรไทย เพื่อนำไปใช้ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่ง
การศึกษานี้ได้ทำการวัดส่วนสูง ความยาวกระดูก Tibia และ Ulna ของคนไทย จำนวน 400 คน แบ่งเป็น
เพศชายจำนวน 188 คนและเพศหญิงจำนวน 212 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีอายุระหว่าง 20-55 ปีโดย
การวัดความยาวกระดูก Tibia จะวัดจากขอบปลายสุดของปุ่มกระดูก Medial malleolus (กระดูกตาตุ่ม
ด้านใน)ไปจนถึงขอบของปุ่มกระดูก Medial condyle ของกระดูก Tibia และวัดความยาวกระดูก Ulna
จากขอบปลายสุดของกระดูก Ulna บริเวณข้อมือไปจนถึงปุ่มกระดูก Olecranon process บริเวณข้อศอก
ซึ่งจะใช้ vernier caliper เป็นเครื่องมือในการวัดความยาวกระดูก จากนั้นนำข้อมูลส่วนสูงและความยาว
กระดูกมาหาความสัมพันธ์และสร้างเป็นสมการคาดคะเนส่วนสูงโดยใช้วิธีการทางสถิติที่เรียกว่า การ
วิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis)
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงกับความยาวกระดูก Tibia และ Ulna พบว่าความ
ยาวกระดูก Tibia และ Ulna มีความสัมพันธ์กับส่วนสูงในระดับสูง โดยในเพศชายมีค่า r = 0.730 และ
0.746 สำหรับกระดูก Ulna ข้างขวาและข้างซ้ายตามลำดับ (p-value = 0.000) และ r = 0.843 และ
กระดูก และส่วนสูงมาสร้างเป็นสมการคาดคะเนส่วนสูง พบว่าสามารถคาดคะเนส่วนสูงได้อย่างเป็นที่น่า
พอใจ ความยาวกระดูก Tibia และUlna สามารถนำมาใช้ในการคาดคะเนส่วนสูงของประชากรไทยได้
0.833 สำหรับกระดูก Tibia ข้างขวาและข้างซ้ายตามลำดับ (p-value = 0.000) และในเพศหญิงมีค่า r = 

0.691 และ 0.679 สำหรับกระดูก Ulna ข้างขวาและซ้ายตามลำดับ (p-value = 0.000) และ r = 0.783
และ 0.794 สำหรับกระดูก Tibia ข้างขวาและ ข้างซ้ายตามลำดับ (p-value = 0.000) เมื่อนำความยาว

Article Details

Section
บทความ