การประมาณระยะเวลาการเสียชีวิตของศพจากการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของเซลล์เม็ดเลือดขาว
Main Article Content
Abstract
การประมาณระยะเวลาภายหลังการตายถือเป็นปัญหาสำคัญในทางนิติวิทยาศาสตร์และงานด้านกฎหมาย ภายหลังการตายในแต่ละรายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมีที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้นในการศึกษาครั้งนี้จะทำการวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของเซลล์เม็ดเลือดขาวในศพเพื่อหาความสัมพันธ์กับระยะเวลาการตายที่แท้จริง โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยวิธี Bloodsmear จากการเก็บตัวอย่างเลือดจากสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 19 ราย วิเคราะห์ผลโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องแสง (Light microscope) การตรวจดูลักษณะของเซลล์ภายหลังการย้อมสีด้วยWright stain ทำให้สามารถจำแนกเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดที่เกิด pyknosis ภายหลังการตายไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง เกิด cytoplasm and nuclear vacuolation ภายหลังการตายไปแล้วประมาณ 12ชั่วโมงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาว สามารถนำมาใช้ประมาณระยะเวลาการเสียชีวิตได้ในช่วง 6 – 12 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนนำมาอ้างอิงและคอยสนับสนุนการชันสูตรพลิกศพในการประมาณการตายของศพ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ ทางสถานที่เกิดเหตุเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและใกล้เคียงกับเวลาการตายที่แท้จริง