การประมาณอายุของคราบเลือดจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

Main Article Content

พรวีนัส งามเสมอ

Abstract

          การประมาณระยะเวลาที่แน่นอนของอายุคราบเลือดเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวชศาสตร์ เนื่องจากอายุของคราบเลือดสามารถบ่งบอกถึงระยะเวลาการเกิดเหตุและระยะเวลาเสียชีวิตของศพได้ ในการศึกษานี้ใช้เชื้อจุลชีพธรรมชาติที่อาศัยอยู่บนพื้นผิวในสถานที่เกิดเหตุเป็นตัวบ่งชี้เมื่อได้สัมผัสกับคราบเลือด แบ่งเป็นองค์ประกอบภูมิคุ้มกันของเลือด 3 สภาวะได้แก่ fresh normal blood, old nonincubateblood และ heat inactivated blood โดยพบว่า fresh normal blood ซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันcomplement มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลชีพมากที่สุดและสามารถทำลายเชื้อจุลชีพได้ดีกว่าเลือดที่มี complement น้อยได้แก่ old non-incubate blood และกำจัดเชื้อจุลชีพน้อยที่สุดคือไม่มีcomplement เลยได้แก่ heat inactivated blood นอกจากนี้ยังพบว่าองค์ประกอบของเลือดส่งผลกระทบต่อการลดลงของเชื้อจุลชีพเพียงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งคราบเลือดแห้งการประมาณอายุคราบเลือดโดยพิจารณาจากสัดส่วน จำนวนเชื้อจุลชีพธรรมชาติที่สัมผัสคราบเลือดกับจำนวนเชื้อจุลชีพธรรมชาติไม่ได้สัมผัสคราบเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของอายุคราบเลือด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกรณีศึกษาจำนวน 4 คดี พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระยะเวลาเกิดเหตุ 20 นาที การประมาณอายุจากการทดลองได้ 7-29 นาที, กรณีศึกษาที่ 2 เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระยะเวลาเกิดเหตุ 30 นาที การประมาณอายุจากการทดลองได้ 27.7-110.9 นาที, กรณีศึกษาที่ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระยะเวลาเกิดเหตุ 5 นาที การประมาณอายุจากการทดลองได้ 6.5 นาที และกรณีศึกษาที่ 4 เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระยะเวลาเกิดเหตุ 10 นาที การประมาณอายุจากการทดลองได้ 9.96-39.85 นาที คิดเป็นความคลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับระยะเวลาการศึกษาที่ใกล้เคียงที่สุดเท่ากับ 27.5%, 7.7%, 30% และ 0.4%ตามลำดับ จากการศึกษานี้สามารถประมาณอายุคราบเลือดโดยพิจารณาจากสัดส่วนซึ่งให้ผลเชื่อถือมากเมื่อระยะเวลาการเกิดเหตุเกิดขึ้นไม่นานนัก

Article Details

Section
บทความ