การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมไฮโดรไลเสทผักตบชวาโดยหม้อนึ่งไอน้ำแรงดันสูง เพื่อผลิตเอทานอล

Main Article Content

รัชพล พะวงศ์รัตน์

Abstract

          การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมไฮโดรไลเสทจากผักตบชวาโดยหม้อนึ่งไอน้ำแรงดันสูงเพื่อผลิตเอทานอล โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเส้นใย ปริมาณน้ำตาล และโครงสร้างวัสดุหลังขั้นตอนการปรับสภาพ โดยองค์ประกอบเส้นใยของวัตถุดิบเริ่มต้นประกอบด้วยเฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส และลิกนินคิดเป็น 14.85, 44.71 และ 3.06 %wt ตามลำดับ ตัวอย่างจะถูกปรับสภาพโดยใช้วิธีทางกายภาพร่วมกับทางเคมีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ 1)แช่น้ำเปล่า 2)แช่สารละลายกรด 3)แช่สารละลายด่าง โดยพบว่าการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2 %wt ร่วมกับหม้อนึ่งไอน้ำแรงดันสูงจะได้ไฮโดรไลเสทที่มีลักษณะของโครงสร้าง และองค์ประกอบเส้นใยสูงที่สุดโดยมีเฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส และลิกนินคิดเป็น 23.16, 47.38 และ 3.71 %wt เมื่อเทียบกับวิธีการอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณน้ำตาลและสารประกอบอนุพันธ์ที่เป็นพิษจากกระบวนการปรับสภาพ เช่น เฟอฟูรอล และ 5-ไฮดรอกซิลเมทธิลเฟอฟูรอลมีปริมาณน้อยมาก

Article Details

Section
บทความ