การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ

Main Article Content

ชาย หาญณรงค์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการ โดยจัดฝึกอบรมเป็นเวลา 1 วัน ทำการติดตามหลังการฝึกอบรม 1 เดือน เพื่อรับทราบผลพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำแบบทีมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ หัวหน้างานของบริษัท ชลบุรีอีซูซุเซลส์ จำกัด จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบทีม และแบบประเมินทักษะภาวะผู้นำแบบทีม เครื่องมือทั้งสามฉบับมีความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

               ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบทีมของผู้บริหารในสถานประกอบการที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและบทบาทหน้าที่ของผู้นำแบบทีม การทำงานเป็นทีม และการสอนงาน 2) หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำแบบทีม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรม กระบวนการฝึกอบรม สื่อ และการวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง 3) หลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบทีมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์สามารถพัฒนากลุ่มเป้าหมายของการวิจัยด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบทีมและเจตคติต่อภาวะผู้นำแบบทีมสูงขึ้นทุกคน โดยมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับด้านทักษะภาวะผู้นำแบบทีมพบว่าอยู่ในระดับมาก หลังจากการติดตามผลการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน คะแนนทั้งสามส่วนลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรมในระดับมาก 

ABSTRACT

               The purposes of this study were: i) to study team leadership characteristics of administrators in establishment for designing training program, ii) to develop the training program in team leadership for administrators in establishment and iii) to study the results of the training program for administrators in establishment. The training was divided into two stages comprising training workshop and a follow-up after the training for a period of one month in order to know about the results of the development and behavioral changes in the aspects of team leadership of the sample concerning knowledge, attitude, and skills. The research instruments were test, questionnaire and observational form which all met the requirement of the qualities in terms of content validity and reliability.  The sample was purposive sampling consisted of 30 supervisors of Chonburi Isuzu Sales Co., Ltd.. Frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis were employed to analyze the data.

               The findings revealed as the followings: i) The first three main aspects of team leadership were knowledge of team leadership and team leaders’ roles, teamwork and coaching. ii) The training program aspects were rationale and objectives, contents, activities, training process, training materials, and assessment and evaluation. iii) The training program addressed appropriateness and consistence for utilization and met its criteria of the effectiveness. The training program were helped all supervisors gained their knowledge of team leadership and attitude met the research requirement (growth score≥20%). Based on an observation, their team leadership skills were at a high level. Moreover, they ranked of the training satisfaction at the high level. The follow-up after the training found that the scores of the team leadership knowledge, attitude and skills were slightly decreased from posttest score.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ