การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐมเขต 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐมเขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิทยากรและวิธีการนำเสนอ วัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสูตร (2) ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบเป็นรายบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการและคณะกรรมการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ โดยใช้แบบประเมินปลายปิดและปลายเปิด แบบทดสอบ Pre – test และ Post – test แบบประเมินความสามารถในการจัดทำ Action Research วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบที (t - test) และการวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญ
ผลการศึกษาพบว่า
1. การประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .57) ส่วนผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .31) และศึกษานิเทศก์มีความคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .44) ตามลำดับ
2. การประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรม
ครูมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.50 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring
ครูมีความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .57)
2.3 ความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring เป็นโครงการที่มีประโยชน์ เพราะครูจะได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนแบบใหม่ และครูยังได้มีการพัฒนาตนเองมากขึ้น
3. การศึกษาปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ
3.1 ปัญหาและอุปสรรค
ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (1) ระยะเวลาน้อยทำให้การนำนวัตกรรมไปใช้ยังไม่ทันเห็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างแท้จริง (2) ครูมีภาระงานอื่นมากทำให้โครงการไม่ได้ผลเต็มที่เท่าที่ควร (3) การประชาสัมพันธ์และการประสานงานในการดำเนินโครงการยังน้อย (4) การเลือกเทคนิคการสอนเพราะครูไม่ชำนาญการใช้เทคนิคที่หลากหลาย (5) ในการสอนจริงการสอนด้วยวิธีการนี้จะทำให้ใช้เวลานานและครูต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนนาน
3.2 ข้อเสนอแนะ
ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ได้ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring ดังนี้ (1) ควรจัดโครงการนี้ให้มีความต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนเรื่องให้ทันกับการพัฒนาบทบาทของครูในยุคสมัยใหม่ (2) ควรเจาะจงการวิจัยเป็นเรื่องๆ (3) ควรมีการสร้างเครือข่ายกลุ่มโรงเรียน (4) ควรจัดให้มีการนิเทศครูในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง (5) ควรจัดในวันเสาร์และอาทิตย์หรือช่วงปิดเทอม (6) ควรมีเวลาให้ครูได้เตรียมพร้อมมากกว่านี้ (7) ควรขยายผลให้ครบกับครูทุกคนรวมถึงรุ่นต่อๆ ไปด้วย และ (8) ในการฝึกอบรมควรเน้นการปฏิบัติให้มากขึ้น
Abstract
The purposes of An Evaluation Project for Developing the Teacher Quality by Using the Process of Coaching & Mentoring System: Nakhon Pathom Primary Educational Service Area office 2 were 1) To evaluate the operating processes in raising teacher quality monitoring in teaching and learning activities, lecturing and presenting, teaching materials, evaluation and measurement and curriculum management. 2) To evaluate raising teacher quality supervisors’ on individually learning achievement. 3) Supervision on problems and barriers of the operating processes of raising teacher quality by using opened and closed, Pre – test, Post – test, Action Research assessment forms. The obtained data was analyzed by mean (X), standard deviation (S.D.), t – Test for Dependent and content analysis.
The research results were as follows:
1. The evaluation of the operating processes in raising teacher quality.
The teacher’s opinion in the operating processes in raising teacher quality were in high level (X=4.02 S.D. = .57), the executive’s opinion in the operating processes in raising teacher quality were in high level (X=2.89 S.D. = .31), The educational supervisor’s opinion in the operating processes in raising teacher quality were in high level (X=2.75 S.D. = .44) as respectively.
2. The evaluation of the overall processes in raising teacher quality.
2.1 A comparative of pre – test and post – test score.
The teacher’s post – test average score (X) were 27.25 S.D. = 3.50 higher than pre – test average score (X) were 17.33 S.D. = 4.50. It was statistically significant at .01.
2.2 An Evaluation Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System
The teacher’s opinion in the Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System were in high level (X=4.14 S.D. = .57)
2.3 The Project understanding and benefit.
The executives, The educational supervisors and the teachers comments in Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System that this project was profitable its created new teaching methods and self - development.
3. The study of problems and barriers of the operating processes
3.1 The problems and barriers
Most of The executives, The educational supervisors and the teachers comments in Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System problems that (1) The limitations of time was impact for the use of innovation adoption (2) The teacher others workload was impact for the efficient of the project (3) The less of public relations and cooperation (4) The proficiency of choosing teaching techniques and (5) The real situation its take long time for teaching and preparing.
3.2 The suggestions
The suggestions of The executives, The educational supervisors and the teachers comments in Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System problems were (1) Always have the project’s continued and updated (2) Should be specified by each research (3) Should be build school networking (4) Always continually the teacher supervision (5) Should be provide at the end of semester (6) The teacher should have much more time to preparation (7) Should be extend to all concerned and (8) The training should focused on practicing.