การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Main Article Content

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

               การประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิทยากรและวิธีการนำเสนอ วัสดุ/อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสูตร 2) ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบเป็นรายบุคคล โดยเก็บข้อมูลกับผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และ 2) ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

               The purposes of An Evaluation Project for Developing the Teacher Quality by using the process of Coaching & Mentoring System: The Secondary Educational Service Area office 9 were 1.) To evaluate the operating processes in raising teacher quality monitoring in teaching and learning activities, lecturing and presenting, teaching materials, evaluation and measurement and curriculum management. 2.) To evaluate raising teacher quality supervisors’ on individually learning achievement. 3.) Supervision on problems and barriers of the operating processes of raising teacher quality by using questionnaire and test. The obtained data was analyzed by mean, standard deviation, t–test and content analysis.

               The research results were as follows: 1) The evaluation of the operating processes in raising teacher quality were in high level. 2) The evaluation of the overall processes in raising teacher quality. The teacher’s posttest score higher than pretest score was statistically significant at .05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ