บทบาทสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย : ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

Main Article Content

โกวิทย์ พวงงาม
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
จุรีวรรณ จันพลา
รณรงค์ จันใด

Abstract

บทคัดย่อ

               โครงการวิจัยบทบาทสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย: ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการ ได้แก่ (1) ศึกษาบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สนง.กกต.) ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคของพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย (3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมบทบาทพรรคการเมืองในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ (4) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบันทางการเมือง

               การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method Research) โดยใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Selection) กลุ่มที่ 2 ฝ่าย กกต.และ สนง.กกต.  จำนวน 52 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 3 ฝ่ายพรรคการเมือง จำนวน 24 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Selection)  กลุ่มที่ 4 สมาชิกพรรคการเมือง  จากพรรคการเมืองในกลุ่มที่ 3 จำนวน 2,866 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random)  กลุ่มที่5 ประชาชนทั่วไปที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง จำนวน 1,000 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random)   เครื่องมือในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวสัมภาษณ์สำหรับการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

               บทบาท สนง.กกต.ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้พรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย  พบว่า (1) สนง.กกต. มีบทบาททั้งในการส่งเสริมและสนับสนุนพรรคการเมืองและบทบาทในการควบคุมตรวจสอบพรรคการเมืองอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก  (2)พรรคการเมืองมีบทบาทช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาประชาธิปไตยแก่ประชาชนอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก  (3) การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยของพรรคการเมืองให้กับประชาชนส่วนใหญ่พรรคการเมืองเน้นกิจกรรมการแถลงนโยบายของพรรคการเมืองและการรณรงค์หาคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง  (4) ลักษณะการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมประชาธิปไตยของพรรคการเมืองและการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกพรรคการเมืองกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดให้ความเห็นว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อ

               ปัญหา  อุปสรรคของพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย พบว่า (1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  มีบทบัญญัติลงโทษกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำผิดกฎหมายโดยยุบพรรคการเมือง  ทั้ง ๆ ที่เป็นความผิดเฉพาะตัว  ได้ก่อให้เกิดปัญหาให้ การพัฒนาพรรคการเมืองไม่ต่อเนื่องและไปไม่ถึงการเป็นสถาบันทางการเมือง  ในทำนองเดียวกัน  การสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองตามกฎหมายดังกล่าว  ไม่เอื้ออำนวยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองที่เกิดใหม่มีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน  ทำให้พรรคการเมืองดังกล่าวมีปัญหาในการพัฒนาพรรคการเมือง (2) สนง.กกต. มีบทบาทเด่นชัดในการควบคุมตรวจสอบพรรคการเมือง  แต่ยังมีจุดอ่อนในบทบาทส่งเสริมสนับสนุนพรรคการเมือง  (3) ปัญหาจากระบบประเมินผลการดำเนินงานของพรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง  สนง.กกต. ยังขาดการประเมินความคุ้มค่าระหว่างผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองกับงบประมาณที่ได้รับ (4) ปัญหาจากจำนวนบุคลากรของ สนง.กกต. โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคมีจำนวนไม่เพียงพอและขาดความรู้ความเข้าใจในงานพรรคการเมืองที่ดีพอ  ทำให้การส่งเสริมสนับสนุนพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่  (5) ปัญหาหรือข้อจำกัดของพรรคการเมืองส่วนใหญ่ขาดบุคลากรที่มีความรู้  ความเข้าใจในการบริหารงานของพรรคการเมือง   ไม่สามารถบริหารพรรคการเมืองและดำเนินการพัฒนาประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน  นอกจากนี้พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังขาดอุดมการณ์ทางการเมืองที่ถูกต้องไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวม  จึงทำให้การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเป็นไปในลักษณะการรณรงค์หาเสียงเป็นหลักและดำเนินการเฉพาะช่วงของการเลือกตั้ง (6) ปัญหาด้านบริบททางการเมืองที่มีความขัดแย้งกันสูงทำให้แต่ละฝ่ายใช้ช่องทางที่มีอยู่เป็นเครื่องมือในการยุบพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ทำให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองขาดความต่อเนื่อง  ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาพรรคการเมือง

               ข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานของ สนง.กกต. กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย  สรุปได้ดังนี้  (1) ควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550  ใน 2 ประเด็น คือ  ประเด็นแรก  ควรยกเลิกบทลงโทษกรรมการพรรคการเมืองที่กระทำความผิดกฎหมายเฉพาะตัว  แต่ไม่ลงโทษกับถึงยุคพรรค  ประเด็นที่สอง  ควรพิจารณาการกำหนดเกณฑ์ในการให้การสนับสนุนให้แก่พรรคการเมือง  โดยควรให้พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีโอกาสได้รับเงินสนับสนุนอย่างยุติธรรม  (2) ควรดำเนินการพัฒนาบุคลากรของ สนง.กกต. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในด้านการพัฒนาพรรคการเมืองให้มากขึ้น  รวมทั้งการเพิ่มอัตรากำลัง (3) สนง.กกต.ควรปรับปรุงและจัดทำตัวชี้วัด (Key Performance Indicator: KPI) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการสนับสนุนแก่พรรคการเมืองโดยเน้นตัวชี้วัดด้านคุณภาพของกิจกรรมและพฤติกรรมของนักการเมืองด้วย (4) สนง.กกต. ควรกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน (Civil Society) ที่จะผลักดันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบและควบคุมพรรคการเมืองร่วมกับ สนง.กกต.  (5) ควรมีระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของพรรคการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเน้นการประเมินพรรคการเมืองเชิงคุณภาพในการประเมินความคุ้มค่าระหว่างผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของพรรคการเมืองกับงบประมาณที่พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุน

               การส่งเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบันทางการเมือง  สรุปได้ดังนี้ (1) การจัดตั้งพรรคการเมือง สนง.กกต. ควรพิจารณาแก้ไขกฎเกณฑ์การจดทะเบียนพรรคการเมืองให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นกว่าที่กำหนดในปัจจุบัน  (2) กิจกรรมพรรคการเมือง  ควรพิจารณาจัดให้มีการให้รางวัลแก่พรรคการเมืองที่มีการดำเนินกิจกรรมที่ดีเด่นด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย  ควรจัดทำตัวชี้วัดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการสนับสนุน  และควรสนับสนุนให้เกิดองค์กรกลางเพื่อติดตามศึกษาและประเมินการดำเนินงานของพรรคการเมืองในลักษณะ “Policy Watch” (3) เงินอุดหนุนพรรคการเมือง สนง.กกต.ควรกำหนดกฎเกณฑ์ในการพิจารณาให้เงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ (4) สนง.กกต. ควรดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำความผิดทางการเมืองเป็นความผิดเฉพาะตัวไม่ควรมีบทลงโทษโดยการยุบพรรคการเมือง

 

Abstract

               The four purposes of research project in the role of Office of The Election Commission of Thailand and the strengthening of political parties in democratic development : the problems and solutions were (1) To study the role of The Election Commission for the strengthen of political parties in democratic development (2) To study the problems of political parties in democratic development(3) To study the role of political parties to educate people about democracy and(4) To promote the strengthening of political parties as political institutions.

               The operating processes were used Mixed Method Research by using Quantitative Research and Qualitative Research. The sample divided into 4 groups First 8 experts choosing by Purposive Selection, second 52 of The Election Commission and Office of The Election Commission choosing by Purposive Selection, third 24 of the political parties choosing by Purposive Selection, forth 2,866 political parties members by Sample Random. and fifth 1,000 people who have not members of political parties by Sample Random. The operating processes of this research were questionnaire, depth interview and focus group. The research results were revealed that the role of Office of The Election Commission of Thailand and the strengthening of political parties in democratic development (1) The Office of The Election Commission have promoting, supporting and monitoring political parties in moderate to good (2) The political parties have promoting and monitoring in moderate to good (3) Most of activities to promote democracy to the people political parties use the campaigns for votes the election (4) The supporting of democracy activities most of parties members did not attended but received information from the media.

            The problems and solutions of democratic development were (1)Today the laws relating to the political parties contains punishing the committee by political collapse(2) The Office of The Election Commission controlling and verification political parties. But weaknesses in supporting the role of the political parties (3)The performance of evaluation system that have received grants from the political fund remains a lack of the results in affordable value on the budget (4) The number of personnel especially in regions are lack of understanding in political parties to fully support the political party (5) The problems or limitations were the lack of knowledge and understanding that the political parties managing democracy development to the people. Moreover most of political parties are lack of political ideology. Thus the provided information to the public and implementation campaign is essentially limited to the election (6) The context of political conflict are making the operation in each channel collapse, lack of continuity that is not good for political parties development.  

            The guidelines of the implementation of the Election Office to be strengthening in democratic development revealed that (1)Should be improved the organic of Political Parties 2550 in two issues: The first should cancel penalties outlawed political parties identities, The second should consider setting criteria to provide and support .Political parties should newly established with fair opportunity to obtain the support(2) The Election Commission should continue  develop the central and regional office by increasing knowledge and potential and adding manpower of political parties (3) The Election Office should improve and perform indicators (Key Performance Indicator: KPI) to support a basis of political parties by emphasis on quality indicators and the politician’s behavior (4) The Election Office should set the strategy to drive democracy and strengthen civil society to push the participating and monitoring the political parties control (5)Should have a effectively system to monitor and evaluate the operation of political parties by emphasis on qualitative assessment between the operations and supported budget

               To promote the political parties strengthening revealed that  (1) The federation of Election Commission should consider the rules governing the registration more than the current (2) The political activities should providing reward to the outstanding political parties and should support the central organization to monitor and evaluate in the “Policy Watch” (3) The Election Commission Office  should set the rules for subsidies the political parties especially the small and newly political parties(4) The Election Commission Office should continue and revise the law for the executive director individually penalty and should not punished only by dissolution of the political parties.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ