โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ

Main Article Content

กนกวรรณ อุดมพิทยารัชต์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเอง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 62 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 ราย ซึ่งกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์โดยใช้สถิติ paired t – test และ independent’s t – test

               ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง การรับรู้ผลดีของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

               ดังนั้น จึงควรให้มีโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย โดยเน้นสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายเองได้และให้บุคคลใกล้ชิดหรือผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมโดยเน้นเทคนิคการสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสม

 

Abstract

               This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of a health education program applying Self–Efficacy Theory to promote exercise behavior in patients with essential hypertension at Kratoomban District, Samutsakorn province.  Purposive selection was used to select a sample of 62 participants who were divided into 2 groups, experimental and comparative groups with 31 in each. Data were collected by interview and analyzed with analytical statistics, paired t–test and independent’s t-tests. 

               The results found that after participating in the program, the experimental group changed their self efficacy, perceived benefit of exercise and exercise behavior to be higher than before participating, and all three measures differed from the comparative group significantly (p < 0.001). The group’s level of blood pressure also decreased significantly (p < 0.001).

               This health promotion program for exercise should be promoted to benefit self efficacy among patients with hypertension and stimulate the attention and care given in supporting patients with an appropriate learning process.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ