วิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและรูปแบบในความต้องการ กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

กำธร แจ่มจำรัส
ณัฐวิชช์ ศรีธาดาสวัสดิ์
กฤติน ตันเจริญ
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบในความต้องการกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจาก ประธานนักศึกษา สมาชิกสโมสรนักศึกษา และตัวแทนนักศึกษาที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมจำนวน 25 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาคือ นักศึกษาได้เลือกทำกิจกรรมอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาได้ลงเข้าไปช่วยเหลือชุมชน ชาวบ้าน นักเรียน และกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ใช้เงินทุนไม่สูง แต่เป็นการใช้แรงกายแรงใจ การมีจิตอาสาในการทำงานเพื่อชุมชนมากกว่าการใช้เงิน รองลงมาคือการบริจาคตรง การตลาดเพื่อสังคมขององค์กรการตลาดอิงการกุศล การส่งเสริมประเด็นสังคม ตามลำดับ และรูปแบบความต้องการในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาคือต้องการทำกิจกรรม CSR ร่วมกับชาวบ้านมากขึ้น ต้องการจัดกิจกรรมCSR ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกสาขาวิชา ความต้องการจัดกิจกรรม CSR ที่เกิดจากความร่วมมือในทุกฝ่าย ต้องการจัด CSR โดยไม่ถูกจำกัดพื้นที่การจัดกิจกรรม และมีความต้องการให้บูรณการกิจกรรม CSR ต่อสังคมในรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน

 

Abstract

               The purpose of this study is to determine appropriate CSR activity for Management department Silpakorn University. The data was collected by interviewing 25 students including student-chief, members of student association, and student who had experiences with CSR activity. The choices of CSR were helping people and fund raising for local commodity. Although the activities needed a lot of people to get involved but it actually required less finial support. Overall, the enhancement in relationships between students and local commodity was improved.It also showed that CSR activities can be reached outside the classroom.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ