การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อทำการเกษตรสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ภายใต้ความพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก

Main Article Content

กีรติ เชาว์ตฤษณาวงษ์
ณัฐณี หาสิตพานิชกุล
ฐิตินันท์ ทองสาด
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่อง การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อทำการเกษตรสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้ความพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาการศึกษาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน นักเรียนโรงเรียนสัมมาสิกขาระดับชั้นมัธยมต้น มัธยมปลาย และสมาชิกชุมชนปฐมอโศก รวมจำนวน 13 คน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การทำเกษตรกรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และศักยภาพในการพึ่งตนเองของสมาชิกชุมชนปฐมอโศก ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกชุมชนปฐมอโศก มีวิถีการดำรงชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ โดยยึดเอาหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นชุมชนพุทธเกษตรกรรม ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก มีการถือศีล ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และรับประทานมังสวิรัติตลอดชีวิต สมาชิกทุกคนทำงานโดยไม่มีเงินเดือน มุ่งหวังเพียงสร้างบุญกุศลทางจิตใจ มากกว่าวัตถุทางกาย มีการผลิตปัจจัยในการดำรงชีพด้วยตนเอง นอกจากการผลิตเพื่อบริโภคภายในชุมชนแล้ว ยังนำออกวางจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ โดยนำเอาหลักเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้แปลกใหม่ หลากหลาย และน่าสนใจ จำหน่ายสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคปลอดสารพิษให้ผู้ที่สนใจใน “ราคาบุญนิยม” คือการขายสินค้าโดยเอากำไรเพียงเล็กน้อย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ชุมชนปฐมอโศกถือเป็นชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพในการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสสังคมทุนนิยมในปัจจุบัน

 

Abstract:

               “Applying the Creative Economy Theory to Sustainable Agriculture Based on Self-Sufficiency Economy of Patom-Asok Community” is a qualitative study utilizing phenomenological research method which collects non-directive data from interviewing 13 main participants such as community leader, high-school students from Summa Sikha school, and people in the community. The goal of this research is to study the creative economy and self-sufficiency economy applied by the people in the Asok community. Implementing the Buddhist way of life has helped people in this community to live in harmony with nature and to be self-sufficient. The combination of Buddhism and agriculture also leads to reduction of external resources. The community people strictly observe religious rituals, being life-long vegetarian, and being charitable. Not only do they produce enough for themselves, they also sell the extras outside the community. Based upon implementation of creative economy theory, the organic produces sold to the outsiders are interesting and come in many varieties. Given the low margin, set prices are considered ‘charity prices’. Asok is truly a prototype community of self sufficiency economy stood among mainstream capitalism.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ