การสัมผัสบำบัดด้วยกอด : จิตอาสาสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม

Main Article Content

ขนิษฐา เนียมแสง
นรินทร บุญอำพล
วาสนา รู้หาเงิน
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการบำบัดผู้ป่วยด้วยการใช้วิธีกอดโดยศึกษาถึง ความหมาย รูปแบบวิธีการดูแลผู้ป่วย ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Researchจากเการสัมภาษณ์คุณพรวรินทร์นุตราวงศ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องบันทึกเสียง สมุดบันทึกภาคสนาม และตัวผู้วิจัยในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

               ผลการศึกษาพบว่า 1)ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของ คุณพรวรินทร์ นุตราวงศ์เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบกิจกรรมการอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunleering) โดยการเสียสละเวลาว่างจากงานส่วนตัวมาทำประโยชน์ให้กับผู้ป่วย ในฝ่ายการพยาบาล วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล (2) รูปแบบและวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของคุณพรวรินทร์ นุตราวงศ์คือ การเป็นอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือบำบัดผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ผ่านวิธีการสวมกอดผู้ป่วย เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกที่ดีไปสู่ผู้ป่วย แสดงความรักความห่วงใย และความปรารถนาดี การกอดส่งผลดีต่อผู้ป่วยคือ ช่วยลดระดับความกังวล ลดระดับฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภาวะเครียด ช่วยให้ระดับฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรักความผูกพันเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตต่ำลง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ กระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายสดชื่นมีชีวิตชีวา อารมณ์ดี และช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคให้ทุเลาลงได้ (3) ปัญหา อุปสรรคที่พบคือในช่วงแรกวิธีการกอดบำบัดไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากญาติผู้ป่วยผู้ป่วยและญาติไม่เชื่อว่ามีประโยชน์และช่วยบำบัดรักษาทางจิตใจจึงเกิดการต่อต้าน (4) วิธีจัดการปัญหาและอุปสรรคคือ การเข้าไปพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติด้วยความจริงใจ อธิบายถึงวิธีการกอดบำบัด ว่าสามารถช่วยบำบัดรักษาอาการป่วยให้ทุเลาลงได้พร้อมทั้งยกตัวอย่างและเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงประกอบการสนทนา

 

Abstract

             The objective of this study is to examine technique of patient therapy by hug. The interview of MS. Pornwarin nutrawong is used to study via Qualitative research and Content analysis. The Questionnaire, Corporate Social Responsibility, and Descriptive are used as tools by researcher.

            Consequence from the study     

               1)  The meaning of social responsibility: is to helpful in sentiment way, lower patient anxiety, lessen depression, and lessen insomnia. This makes patient get better health, enthusiastic, want to live on, able to solve problems, and develop confidence of patient and relatives to overcome fear.

               2)  Form of social responsibility: is a voluntary help person by hug to support patient and relatives by supporting from operating unit.

               3)  Useful manner of social responsibility: is to hug and convey good feeling sincerely to others.

               4)  Problem and obstacle: low confidence from patient and patient’s relative in initial phase. Patient and patient’s relative do not believe in sentimental therapy. Patient and patient’s relative are shy to hug each other.

               5)  Problems and obstacle solving: talking with patient and patient’s relative sincerely. Familiar with hug by hug each other longer.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ