การเสริมสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

Main Article Content

ชัชชัย กสิวาณิชยกุล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน     มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษา คือ  พนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จำนวน 364 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติเปรียบเทียบค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระดับความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ทั้งในด้านสังคม  ด้านครอบครัวและการผ่อนคลาย  ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อม  ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน  ด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  มีความสุขอยู่ในระดับมาก  การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลพบว่า  อายุ  สถานภาพ  ตำแหน่ง รายได้ต่อเดือน  ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีระดับความสุขในการทำงานแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ควรมีการเสริมสร้างความสุขในการทำงานให้พนักงานมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1) ควรมีสถานที่ออกกำลังกาย  สถานที่พักผ่อนในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  และพื้นที่ทำกิจกรรมสันทนาการภายในที่ทำงาน ที่จะส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย 2) การจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนแบบอย่างการทำงานหรือการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัย  3) การปรับเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย  เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานอันจะส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย 4) สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานเพื่อสร้างความรู้สึกที่ดี ตลอดจนความรักและความผูกพันให้กับบุคลากร

 

Abstract

               The main objectives of  this research were to workplace happiness levels of  the University Staff : A Case Study of  Silpakorn  University  at  Sanamchandra  Campus.and  to compare Personal factors  the level of happiness in the workplace University Staff : A Case Study of  Silpakorn University at  Sanamchandra  Campus. The studied sample was 364 employees of Silpakorn  University  at  Sanamchandra  Campus. Data  were Collected using a questionnaire as a survey tool and then analyzed by a computer program package. Statistical parameters, including percentile, mean, and standard deviation, were determined. Statistical (t-test and One way ANOVA) analysis was conducted at the significant level of .05.

               The research findings showed that the overall workplace happiness of the Silpakorn University staff was high in all aspects; namely, society, family and recreation activities, relationship with co-workers and working environment, welfare and job payment, as well as job security and career progress. When the happiness level of the staff was compared based on their different personal factors, such as their age, status, salary, and working period, the findings revealed that the happiness level was significantly different at 0.05.  Moreover, some suggestions that could increase the happiness level were reported as follows: 1) The staff should be provided with working out or recreation zones, which could increase their happiness level;  2) Extra activities should be initiated or organized for the staff to exchange their ideas, experiences, and at the same time to strengthen their relationship; 3) The staff payment and general welfare should be adjusted to be at a higher level, which would increase morale and workplace happiness for the staff; and 4) A friendly-working environment should be encouraged to promote both management cooperation and a better relationship among the university staff.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ