การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในด้านความเที่ยงตรง (Validity) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความยากง่าย (Difficulty) และความเชื่อมั่น (Reliability) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 809 คน จาก 24 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สร้างขึ้น จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ รวม 90 ข้อ เป็นแบบทดสอบที่ ฉบับละ มีความสอดคล้องกับสาระ สาระการเรียนรู้แกนกลาง ตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และหลักการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสูง แบบทดสอบ ฉบับที่ 1 มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.28 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.30 – 0.59 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 ฉบับที่ 2 มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.31 – 0.73 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.33 – 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ฉบับที่ 3 มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.25 – 0.79 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.31 – 0.61 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84
Abstract
The purpose of this research were: 1) to develop the Thai language achievement test for grade 6 accordance to core basic education curriculum B.E. 2551 and Bloom Taxonomy of Learning Domains; and 2) to analyze the quality of the test in content validity, discrimination, difficulty, and reliability. The samples were 809 grade 6 students
from 24 schools of Primary Educational Service Area Office 2, Ratchaburi during the academic year 2012, selected by a multi – stage random sampling.
The instrument used for gathering data consisted of the efficiency of Thai language achievement tests for grade 6 accordance to core basic education curriculum B.E. 2551. The gathered data were analyzed by using the Mean and the Standard Deviation.
The results of the study were as follows:
1. The three achievement tests, included 30 items each total 90 items, which were developed conformed to strands, learning indicators, and standards of grade 6 Thai language core basic education curriculum B.E. 2551 and Bloom’s taxonomy of learning domains.
2. The three achievement tests, included 30 items each, which were developed for grade 6 accordance to core basic education curriculum B.E. 2551 were highly positive in content validity. The difficulty and the discrimination of the first test paper were positive (p = 0.28-0.75, r = 0.30-0.59) and the reliability of the test paper was 0.86. The second test paper also showed that the difficulty and the discrimination were highly positive (p = 0.31-0.73, r = 0.33-0.56) with the reliability of 0.83. The difficulty and discrimination of the last test paper were positive (p = 0.25-0.79, r = 0.31-0.61) with the reliability of 0.84.