การยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรี และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 500 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับอีเลิร์นนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1) การใช้อีเลิร์นนิ่ง มีสาเหตุทางตรงมาจาก ความตั้งใจในการใช้อีเลิร์นนิ่ง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมการใช้อีเลิร์นนิ่ง ส่วนสาเหตุทางอ้อม ได้แก่ การรับรู้ว่าอีเลิร์นนิ่งมีประโยชน์ การรับรู้ว่า อีเลิร์นนิ่งง่ายต่อการใช้ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และเจตคติต่อการใช้อีเลิร์นนิ่ง
2) โมเดลการยอมรับอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning Acceptance Model) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (Relative Chi-Square: c2/df เท่ากับ 1.08 ค่า P-Value เท่ากับ .34 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .97 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า RFI เท่ากับ .98 ค่า RMSEA เท่ากับ .01) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้อีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 63
Abstract
The objectives of this research were to develop the E-Learning Acceptance Model (EAM) of undergraduate students and to test a coherence of the E-Learning Acceptance Model of undergraduate students with empirical data. The samples were 500 undergraduate students studying in Burapha University. The samples were drawn from a multi-stage sampling method. The research instruments in collecting data were a questionnaire on causal relationship of variables influencing the acceptance of E-Learning. This research was analyzed by constructing the validity analysis and the coherence of causal relationship model and the empirical data with LISREL.
The result indicated that
1) The E-Learning Usage was directly affected to intention in using e-learning, and perceived behavior control in using e-learning. While, indirect factors are perceived usefulness of using-learning, perceived ease of use on e-learning, and attitude on using e-learning.
2) The E-Learning Acceptance Model was consistent with the empirical data in a good-level fit (Relative Chi-Square: c2/df = 1.08, P-Value = 0.34, GFI = .99, AGFI = 0.97, CFI = .99, RFI = 0.98, and RMSEA = 0.01). The variables in the model accounted for 63 percent of the variance of undergraduate students’ behaviors in using e-learning.