การพัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อก

Main Article Content

นิธิวดี จรัสดี
สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อก และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบ โฟร์บล็อกกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 128) อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์กรุ (ผินผดุง) อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 15 คน รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อก แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิตินอนพาราเมตริก แบบแมนวิทย์นี ยู เทส แบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน และค่าสถิติวิลคอกซอล ซายน์ แรงค์ เทส แบบกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.    ความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               2.     ความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนโดยใช้เทคนิคการฝึกกลวิธีการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบโฟร์บล็อกกับหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

 

Abstract

               The purpose of this research were to study the reading comprehension ability of Prathomsuksa 5 students learned by using learning strategy with Four – Blocks Approach and to compare comprehension ability taught by using  learning strategy with Four – Blocks Approach and using a regular learning plan. The sample consisted of  30 Prathomsuka 5 students  in second semester of academic year 2011. The  sample were divided into 2 groups ; the experiment group of 15 students from Wat Lat Sattharam school, Banlat district, Phetchaburi and the control group of 15 students from Wat Pho Kru school, Banlat district, Phetchaburi.  The instruments used in this research were the learning strategy with Four – Blocks Approach learning plan, regular learning plan and reading comprehension ability test ; two parallel tests and each test consisted with 4 multiple choices. The data was analyzed by using nonparametric statistics with the Mann-Whitney U Test for independent sample and the Wilcoxon signed rank test for dependent sample.

               The findings of the research revealed that:

               1.  The results of reading comprehension ability before and after using the learning strategy with Four – Blocks Approach for Prathomsuka 5students had a statistically significant difference at the level of .05.

               2.  The result of reading comprehension ability after using the learning strategy with Four – Blocks Approach and the result of reading comprehension ability after using a regular learning plan had  a statistical significant difference at the level of .05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ