การพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสมรรถนะส่วนบุคคลของพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะส่วนบุคคลกับสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบล และ 4) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบล ในการวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 258 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 10 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะส่วนบุคคลของพนักงานส่วนตำบลโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะ และด้านความรู้ ตามลำดับ 2. สมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม รองลงมาคือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ตามลำดับ 3. สมรรถนะส่วนบุคคลของพนักงานส่วนตำบลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบลในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับน้อย 4. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานส่วนตำบล พบว่า 1) ด้านการฝึกอบรม มีแนวทางการพัฒนาโดยให้พนักงานส่วนตำบลทุกคนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้เพิ่มเติม 2) ด้านการศึกษา มีการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาสำหรับพนักงานส่วนตำบลให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านการดูงาน มีการให้พนักงานส่วนตำบลได้ศึกษาดูงานพร้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4) ด้านการสัมมนาควรส่งเสริมให้พนักงานส่วนตำบลเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับการเสริมทักษะในการปฏิบัติงานการให้ บริการที่ดี หรืองานเฉพาะตำแหน่ง 5) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ทำงาน มีการจัดหาอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ จัดสภาพแวดล้อมอาคารสถานที่ให้มีความสะอาด สวยงามสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน
Abstract
The objectives of this research were to study 1) study personal competency of subdistrict employees of Subdistrict Administrative Organizations in Phetchaburi Province, 2) investigate core competency of subdistrict employees, 3) examine relationship between personal and core competency of subdistrict employees, and 4) find out guidelines for developing core competency of subdistrict employees. The research samples, selected by using proportional stratified random sampling method, were 258 subdistrict employees working for Subdistrict Administrative Organizations in Phetchaburi Province in 2012 and 10 key informants consisting of administrators of Subdistrict Administrative Organizations in Phetchaburi Province. The research tool was a questionnaire with reliability at 0.98. All of 285 copies or 100% of questionnaires were sent back to the researcher. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient was used for testing hypotheses.
The research results were as follows:
1. The personal competency of subdistrict employees was overall at a high level. The aspects of competency, ranked in descending order of their means, were personal attributes, skills and knowledge.
2. The core competency of subdistrict employees was overall at a high level. The aspects of competency could be ranked in descending order of their means as follows: integrity, teamwork, service mind, achievement motivation, and expertise.
3. There was overall positive relationship at a moderate level (r=0.454) between personal and core competency of subdistrict employees. The positive relationship at a moderate level between core competency and two aspects of personal competency namely skills and personal attributes, and positive relationship at a low level between core competency and knowledge were found.
4. The development of core competency of subdistrict employees consisted of guidelines for organizing training: every employee being trained to get more knowledge, further education: supporting fund for employees’ continuous study, study tour: every employee having at least 1 study tour together in a year, seminar: promoting employees to attend seminar for enhancing work performance skills in providing service and in specific work position, and environment management in workplace: providing enough equipments and materials for working, keeping workplace and buildings clean and good-looking, and creating atmosphere appropriate for working.