การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด

Main Article Content

รุ่งนภา ปฐมชัยอัมพร
อนิรุธ พลอยหิน
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย รูปแบบกลยุทธ์ ปัญหาและอุปสรรค รวมไปถึงวิธีการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหารบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนา

   ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหาร บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่าการที่เราทำอะไรในกระบวนการผลิตแล้วทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมและเมื่อเกิดผลกระทบนั้นแล้ว เราต้องกลับไปแก้ไขกับผลกระทบนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ส่วนที่มาของความหมายนั้นก็สอดคล้องกับกระบวนการผลิตทั้งหมดในกระบวนการผลิต และหลังกระบวนการผลิตที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการต่างๆเหล่านี้จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการประยุกต์ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคมต้องมาก่อนด้านเศรษฐกิจเสมอ เพื่อความเติบโตและยั่งยืนต่อไปของบริษัทฯ

 

Abstract

This research had the objective to study the Corporate Social Responsibility meanings, the source of meanings, strategies, problems, threats and the way to solve the problems by Top Management of Ampol Foods Company. This research was qualitative research used questionnaire by depth interview from Top Management and descriptive analysis.

The results showed that the executives gave meaning of Corporate Social Responsibility as : All processes had already occurred that affected to environment and society. They should solve problem’s direct and indirect effect simultaneously. For the origin of the meaning conformed to all processes. During and after processing had an effect to environment and society. These processes had to show Corporate Social Responsibility Besides They should give precedence to environment and society rather than economy for growth and permanence of the company.    

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ